Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักในเมตต้าคอกนิชัน กับความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยและภาษาอังกฤษของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพมหานคร

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Relationships between metacognition awareness and reading comprehension in Thai and English languages of Mathayom Suksa five students, Bangkok Metropolis

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

สุจิตรา สวัสดิวงษ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

มัธยมศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.241

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันกับความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย ความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันกับความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันในการอ่านภาษาไทยกับความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันในการอ่านภาษาอังกฤษ และความสัมพันธ์ระหว่างความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยกับความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กรุงเทพมหานคร ตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 480 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย แบบสอบวัดความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ และแบบวัดความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิแล้ว ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยการหาค่าความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1.ความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันไม่มีความสัมพันธ์กับความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันมีความสัมพันธ์กับความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันในการอ่านภาษาไทยมีความสัมพันธ์กับความตระหนักในเมตต้าคอกนิชันในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับที่ระดับ .05 4.ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยมีความสัมพันธ์กับความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Share

COinS