Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คำเรียกญาติในภาษาคำเมือง : การวิเคราะห์ทางอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Kinship terms in kham muang : an ethnosemantic analysis

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ภาษาศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.805

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความหมายแก่นของคำเรียกญาติพื้นฐานในภาษาคำเมืองโดยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ และการใช้คำเรียกญาติดังกล่าวในแวดวงอื่น ๆ ได้แก่ การใช้เป็นสรรพนามและคำเรียกขานในหมู่คนที่เป็นญาติและไม่ใช่ญาติ และการใช้เป็นอุปลักษณ์ นอกจากนั้นงานวิจัยนี้ยังมุ่งแสดงลักษณะสำคัญบางประการในวัฒนธรรมล้านนาที่สะท้อนจากความหายและการใช้คำเรียกญาติดังกล่าวด้วย ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้มาจากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษา 4 คนซึ่งเป็นตัวแทนของผู้พูดภาษาคำเมือง 4 จังหวัดล้านนา ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูนและลำปาง ผลการวิจัยพบว่าคำเรียกญาติในภาษาคำเมืองอาจจำแนกให้แตกต่างกันในความหมายแก่นด้วย 4 หรือ 5 มิติแห่งความแตกต่างในภาษาเชียงราย และลำปาง คำเรียกญาติต่างกันในเรื่อง รุ่นอายุ สายเลือด อายุและเพศ ส่วนในภาษาเชียงใหม่และลำพูน จะมีมิติที่เพิ่มขึ้นคือ ฝ่ายพ่อ/แม่ ซึ่งในรายละเอียดคำเรียกญาติในภาษาคำเมืองทั้ง 4 จังหวัด มีทั้งลักษณะที่ร่วมกันและต่างกัน ลักษณะที่ร่วมกัน ได้แก่ การใช้คำเรียกญาติประเภทเดียวกัน ในความหมายเหมือนกัน ส่วนลักษณะที่ต่างกัน ได้แก่ การใช้คำเรียกญาติซึ่งมีความหมายละเอียดที่ต่างกันในเรื่องเพศ และฝ่ายพ่อ/แม่ ในการใช้คำเรียกญาติเป็นสรรพนามและคำเรียกขานในหมู่คนที่เป็นญาติ และไม่ใช่ญาติ พบว่าคำเรียกญาติในรุ่นอายุสูงกว่าหรือมีอายุมากกว่าตัวเองมีการนำไปใช้มากกว่าคำเรียกญาติในรุ่นอายุต่ำกว่าหรือมีอายุน้อยกว่า เช่น คำว่า “พ่อ" และ “แม่" จะใช้เป็นสรรพนามและคำเรียกขานบ่อยมากกว่า “ลูก" เป็นต้น ทั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงลักษณะสำคัญประการหนึ่งในวัฒนธรรมล้านนา คือ “ระบบอาวุโส" สำหรับการใช้เป็นอุปลักษณ์พบว่า คำว่า “แม่" ใช้มากที่สุด โดยเฉพาะในความหมาย “ใหญ่" “สำคัญ" “ต้นกำเนิด" “ผู้ใหญ่ เช่น คำว่า mE:3khO:3 ในภาษาลำพูนหมายถึงนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งคำคู่กันคือ “พ่อ" ไม่ปรากฏ หลักฐานนี้แสดงให้เห็นถึง “การเน้นฝ่ายแม่" หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือบทบาทของฝ่ายหญิงมีความสำคัญมากกว่าฝ่ายชาย ลักษณะสำคัญทางวัฒนธรรมที่พบในการวิเคราะห์ดังกล่าวนี้สอดคล้องกับข้อสังเกตในผลงานทางด้านสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา อย่างไรก็ตาม ผลการวิเคราะห์ความหมายแก่นของคำเรียกญาติในภาษาคำเมืองทั้ง 4 ถิ่น ได้แสดงให้เห็นว่า คำเรียกญาติของฝ่ายพ่อและแม่มีการกลืนกันจนไม่เน้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ ผู้วิจัยจึงสรุปว่า “การเน้นฝ่ายแม่" ที่เคยมีมาแต่เดิมในวัฒนธรรมล้านนานั้น ปัจจุบันนี้กำลังลดความสำคัญลง กลายเป็นไม่เน้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง

Share

COinS