Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การศึกษาลักษณะเฉพาะเชิงสวนศาสตร์ของสระ_ี,-า,-ูในภาษาไทยและประโยชน์ในการบ่งชี้ผู้พูด
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A study of acoustic characteristics of the vowels /i, a, u/ In Thai and its use in speaker indentification
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
วันชัย โพธิ์พิจิตร
Second Advisor
สุดาพร ลักษณียนาวิน
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ฟิสิกส์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.594
Abstract
การวิจัยนี้ได้ศึกษาค่าความถี่หลักมูลและความถี่ฟอร์แมนท์ที่หนึ่ง, สอง และสาม ของเสียงสระสามตัวที่มีตำแหน่งของลิ้นแตกต่างกันมากที่สุด คือ อี, อา, อู ในช่วงคงที่ของเสียงจากคำพูดต่อเนื่อง โดยใช้ผู้พูดเพศชายและหญิงกลุ่มเพศละสิบคน และใช้เครื่องประมวลผลสัญญาณเชิงตัวเลขหาสเปกตรัมของสัญญาณด้วยการแปลงฟาสฟูเรียร์ เพื่อวัดค่าความถี่ต่าง ๆ แล้วนำค่าความถี่มาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติ ผลการทดสอบทางสถิติพบว่า ความถี่หลักมูลและความถี่ฟอร์แมนท์แปรตามเพศของผู้พูด ความถี่หลักมูลของผู้พูดเพศหญิงมีค่าสูงกว่าชาย 72% ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของความถี่หลักมูลเพศชายและหญิงคือ 17% และ 14% ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างบุคคล พบว่ากรณีที่ความถี่หลักมูลมีค่าแตกต่างระหว่างบุคคลมีจำนวนทั้งสื้น 82% ของจำนวนกรณีการเปรียบเทียบทั้งหมดในแต่ละกลุ่มเพศของผู้พูด กรณีที่ความถี่ฟอร์แมนท์มีค่าแตกต่างระหว่างบุคคลในกลุ่มผู้พูดหญิงเท่ากับ 35% เมื่อใช้ความถี่หลักมูลและความถี่ฟอร์แมนท์เป็นพารามิเตอร์ร่วมกันสามารถระบุความแตกต่างของเสียงในกลุ่มผู้พูดชายได้ 100% และ 93% สำหรับกลุ่มผู้พูดหญิง
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ลีลาศิริวงศ์, วิสิทธิ์, "การศึกษาลักษณะเฉพาะเชิงสวนศาสตร์ของสระ_ี,-า,-ูในภาษาไทยและประโยชน์ในการบ่งชี้ผู้พูด" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36242.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36242