Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการเต้นแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกต่ำและแบบปลอดแรงกระแทก ที่มีต่อสารชีวเคมีในเลือดของหญิงผู้สูงอายุ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of low impact and non impact aerobic dance exercise on biochemistry substances in blood of aged females
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
พลศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.233
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลการฝึกแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกต่ำและแบบปลอดแรงกระแทกที่มีต่อสารชีวเคมีในเลือดของหญิงสูงอายุ กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นอาสาสมัครหญิงสูงอายุที่เป็นสมาชิกของศูนย์ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุศิริราช มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกิจกรรมของศูนย์ฯ เป็นประจำ และเคยผ่านการร่วมกิจกรรมออกกำลังกายแบบรำมวยจีนมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน จำนวน 45 คน มีอายุระหว่าง 60-85 ปี ซึ่งทำการตรวจสารชีวเคมีในเลือดก่อนการทดลองแล้วใช้การสุ่มแบบกำหนดลงในสามกลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ฝึกแอโรบิดดานซ์แบบแรงกระแทกต่ำ กลุ่มที่ 2 ฝึกแอโรบิคดานซ์แบบปลอดแรงกระแทก และกลุ่มที่ 3 ฝึกแอโรบิคดานซ์แบบผสมผสานระหว่างแรงกระแทกต่ำกับปลอดแรงกระแทก ฝึก 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ นำค่าทดสอบสารชีวเคมีในเลือดมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า "ที" (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way Analysis of Variance) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าของกลูโคส ไตรกลีเซอร์ไรด์ โคเลสเตอรอล แอล-ดี-แอล และเอช-ดี-แอล ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มฝึกแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกต่ำไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ค่าของไตรกลีเซอร์ไรด์ ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มฝึกแอโรบิคดานซ์แบบปลอดแรงกระแทกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ .05 ส่วนกลูโคส โคเลสเตอรอล แอล-ดี-แอล (LDL) และเอช-ดี-แอล (HDL) ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ค่าของกลูโคส ไตรกลีเซอร์ไรด์ โคเลสเตอรอล และแอล-ดี-แอล ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มฝึกแอโรบิคดานซ์แบบผสมผสานระหว่างแรงกระแทกต่ำกับปลอดแรงกระแทกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ .05 ส่วน เอช-ดี-แอล ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกันยอ่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. ผลของการฝึกแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกต่ำ แบบปลอดแรงกระแทกและแบบผสมผสานระหว่างแรงกระแทกต่ำกับปลอดแรงกระแทกที่มีต่อสารชีวเคมีในเลือดของหญิงสูงอายุไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ภิญโญชนม์, วราภรณ์, "ผลของการเต้นแอโรบิคดานซ์แบบแรงกระแทกต่ำและแบบปลอดแรงกระแทก ที่มีต่อสารชีวเคมีในเลือดของหญิงผู้สูงอายุ" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36234.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36234