Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่ใช้ระยะเวลาต่างกัน ที่มีต่อสารชีวเคมีในเลือด

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of exercise programs with different durations on biochemistry substances in blood

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

เฉลิม ชัยวัชราภรณ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

พลศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.225

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายที่ใช้ระยะเวลาต่างกันที่มีต่อสารชีวเคมีในเลือด กลุ่มตัวอย่างประชากรเป็นบุคลากรหญิงของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อายุ 25-40 ปี ที่อาสาสมัครเข้าร่วมการทดลอง จำนวน 20 คน ก่อนการทดลองได้มีการตรวจสารชีวเคมีในเลือด แล้วใช้ค่าคอเลสเตอรอลเป็นตัวจัดกลุ่มโดยวิธีจับกลุ่ม (Matched Group) โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ใช้ระยะเวลาฝึก 30 นาที กลุ่มที่ 2 ใช้ระยะเวลาฝึก 40 นาที ทั้งสองกลุ่มทำการออกกำลังกายด้วยความหนักของงาน 70 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นหัวใจสูงสุด 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลาทั้งสิ้น 12 สัปดาห์ ตามโปรแกรมการออกกำลังกาย ซึ่งประกอบด้วย เดิน-วิ่ง ขี่จักรยานอยู่กับที่ และแอโรบิคดานซ์ หลังจากเสร็จสิ้นการทดลองนำค่าตรวจสารชีวเคมีในเลือดมาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า "ที" (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าคอเลสเตอรอล และแอลดีแอล ของกลุ่มที่ 1 ก่อนและหลังการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. ค่ากลูโคส และค่าไครกลีเซอไรด์ ของกลุ่มที่ 2 ก่อนและหลังการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 3. ค่าเอชดีแอล ของทั้งสองกลุ่ม ก่อนและหลังการฝึกแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 4. ค่ากลูโคส คอเลสเตอรอล ไตรกลีเซอร์ไรด์ เอชดีแอล และแอลดีแอล ระหว่างกลุ่มที่ 1 กับกลุ่มที่ 2 หลังการฝึก ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05

Share

COinS