Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การเก็บตัวอ่อนโดยวิธีนิรศัลยกรรมในกระบือปลัก (Bubalus bubalis Linn.)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Non-Surgical embryo recovery in swamp buffalo (Bubalus bubalis Linn.)
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
ชาญ อาภาสัตย์
Second Advisor
พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
พฤกษศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.590
Abstract
ศึกษาประสิทธิภาพการล้างเก็บตัวอ่อนจากกระบือตัวให้ โดยการกระตุ้นการตกไข่ด้วย pregnant mare serum gonadotrophin (PMSG) สำหรับการทดลองที่ 1, PMSG ร่วมกับ human chorionic gonadotrophin (HCG) สำหรับการทดลองที่ 2 และ PMSG ร่วมกับ anti pregnant mare serum gonadotrophin (Anti-PMSG) สำหรับการทดลองที่ 3 ใช้แม่กระบือที่ผ่านการให้ลูกมาแล้ว อายุ 5-9 ปี จำนวน 22 ตัว และพ่อกระบือที่ได้ทำการเบี่ยงเบนลึงค์ อายุ 7 ปี จำนวน 1 ตัว เพื่อใช้ในการตรวจสอบการเป็นสัดในกลุ่มตัวให้ ในกลุ่มตัวให้มีการกระตุ้นการตกไข่เพิ่มมากขึ้นโดยใช้ PMSG 2000 ถึง 3000 IU ต่อต่อ อีก 48 ชั่วโมงต่อมาทำการเหนี่ยวนำการเป็นสัดด้วย prostaglandin F₂ alpha (PGF ₂ alpha) 2 cc. ภายใน 1-3 วัน ต่อมาตัวให้จะแสดงอาการเป็นสัด เริ่มผสมเทียมครั้งแรกหลัง standing heat 12 ชั่วโมง ผสม 3-4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 12 ชั่วโมง ในการผสมเทียมครั้งแรกแม่กระบือตัวให้จะถูกฉีด HCG 2500 IU ต่อตัว สำหรับการทดลองที่ 2 และ Anti-PMSG 5 มิลลิลิตร สำหรับการทดลองที่ 3 เพื่อช่วยให้มีการตกไข่ดีขึ้น 6.0-6.5 วันต่อมาหลังจาก standing heat ทำการล้างเก็บตัวอ่อน กระบือตัวให้ทั้ง 3 กลุ่ม ซึ่งกระตุ้นการตกไข่ด้วย PMSG, PMSG ร่วมกับ HCG และ PMSG ร่วมกับ Anti-PMSG ได้จำนวนตัวอ่อนทั้งหมด 4, 1 และ 0 ตัว เฉลี่ย 0.5 ± 1.07ม 0.12 ± 0.35 และ 0 ตัว คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ตัวอ่อนที่ล้างเก็บได้ 12.5, 4.76 และ 0% ตามลำดับ ระยะการเจริญของตัวอ่อนที่ล้างเก็บได้จากตัวให้ทั้ง 3 กลุ่ม อยู่ในระยะตรงตามอายุโดยอยู่ในระยะ compact morula 1 ตัว และ early blastocyst 4 ตัว ที่อายุ 6.0-6.5 วันหลังจาก standing heat ตัวอ่อนที่ล้างเก็บได้จากกระบือตัวให้ทั้ง 3 กลุ่ม จากการกระตุ้นการตกไข่ด้วย PMSG, PMSG ร่วมกับ HCG และ PMSG ร่วมกับ Anti-PMSG ได้ตัวอ่อนที่มีคุณภาพ (เกรด B) เท่ากับ 75, 100 และ 0% ตามลำดับ ตัวอ่อนที่มีคุณภาพพอใช้ได้ (เกรด C) เท่ากับ 25, 0 และ 0% ตามลำดับ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
แทนออมทอง, อลงกลด, "การเก็บตัวอ่อนโดยวิธีนิรศัลยกรรมในกระบือปลัก (Bubalus bubalis Linn.)" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36209.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36209