Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นประสบการณ์นิยมหรือไม่?

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Is theravada buddhist episremology an empircist theory?

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

สุนทร ณ รังษี

Second Advisor

มารค ตามไท

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

ปรัชญา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.764

Abstract

เนื่องจากทรรศนะของผู้ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ของพุทธปรัชญานั้นมีแตกต่างกันไปและหลายท่านมองว่ามีลักษณะเป็นประสบการณ์นิยมงานวิจัยนี้จึงพยายามที่จะศึกษาเพื่อที่จะตอบปัญหาว่าญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นประสบการณ์นิยมหรือไม่ ผลจากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าแม้การใช้คำ “ประสาทสัมผัส" “ประสบการณ์" และ “การรับรู้" ในพุทธปรัชญาจะแตกต่างจากที่ใช้กันในปรัชญาตะวันตกส่วนใหญ่แต่แนวความคิดเกี่ยวกับทฤษฎีความรู้ของประสบการณ์นิยมตะวันตกและพุทธปรัชญานั้นมีลักษณะที่เหมือนกันในหลายประการกล่าวได้ว่าความคิดเกี่ยวกับการรับรู้ การพิสูจน์ว่าจริงแลการคิดหาเหตุผล (โยนิโสมนสิการ) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากต่อทรรศนะเรื่องความรู้ของพุทธปรัชญานั้นล้วนแต่มีพื้นฐานอยู่บนประสบการณ์ทฤษฎีความรู้ตามนัยนี้มีลักษณะเป็นประสบการณ์นิยมเพราะถือว่าประสบการณ์เป็นที่มาที่สำคัญของความรู้ลักษณะทั้งหมดเหล่านี้ล้วนทำให้มองได้ว่าพุทธปรัชญาเป็นประสบการณ์นิยม อย่างไรก็ตามในการพิจารณาประเด็นปัญหาที่ว่า “ญาณวิทยาในพุทธปรัชญาเถรวาทเป็นประสบการณ์นิยมหรือไม่?" นั้น เราจะมองข้ามความจริงที่ว่าคำ “ประสบการณ์" และ “ประสบการณ์นิยม" นั้นมีใช้กันหลายความหมาย หลายระดับไม่ได้ด้วยเหตุที่คำตอบของปัญหานี้ขึ้นอยู่กับบริบทที่เกี่ยวข้องเราจึงไม่มีคำตอบที่สำเร็จรูปตายตัวสำหรับปัญหานี้และด้วยเหตุดังกล่าวการจะตอบปัญหานี้ให้ถูกต้องสมบูรณ์จึงต้องใช้วิธีการวิเคราะห์แล้วแยกประเด็นให้ชัดเจนก่อนแล้วจึงตอบแบบวิภัชชวาท ไม่ใช่การตอบแบบแง่เดียวและตายตัวลงไปแบบเอกังสวาท คำตอบสำหรับประเด็นปัญหานี้อาจสรุปได้ว่าในกรณีที่เราใช้คำ “ประสบการณ์นิยม" ตามความหมายอย่างอ่อนอันหมายถึงหลักการที่ถือว่า ประสบการณ์เป็นที่มาสำคัญที่สุดของความรู้ทฤษฎีความรู้ของพุทธปรัชญาเถรวาทจะเป็นประสบการณ์นิยมแต่ในกรณีที่คำ “ประสบการณ์นิยม" นั้นใช้ในความหมายที่เคร่งครัดคือหมายถึงหลักการที่ถือว่าประสบการณ์เท่านั้นที่เป็นที่มาของความรู้ญาณวิทยาของพุทธปรัชญาเถรวาทก็ไม่อาจจัดได้ว่าเป็นประสบการณ์นิยม

Share

COinS