Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรคระบาดในชุมชนภาคกลางของไทย พ.ศ. 2440-2475 : การศึกษาเชิงประวัติศาสตร์

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Epidemic diseases in the communities of Central Thailand (1897-1932) : a historical study

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

สุวดี ธนประสิทธิ์พัฒนา

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

อักษรศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ประวัติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.790

Abstract

การเกิดโรคระบาดเป็นปัญหาสำคัญอย่างหนึ่งในสังคมไทย การเกิดขึ้นของโรคระบาดนำมาซึ่งการสูญเสียของพลเมือง แต่เนื่องจากผู้นำในสมัยก่อนมิได้มีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดโรค จึงทำให้ไม่สามารถจะป้องกันการเกิดของโรคระบาดได้ การเรียนรู้ในวิทยาการตะวันตกของชนชั้นนำไทย ได้เริ่มมาตั้งแต่ปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จากการเดินทางเข้ามาของมิชชั่นนารีโปรแตสแตนท์ มาถึงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนี้ วิทยาการตะวันตกได้ปรากฎชัดเจนในสังคมไทยแล้ว โดยที่พระองค์และชนชั้นนำบางส่วนได้เรียนรู้ในวิทยาการตะวันตกเหล่านี้ และส่วนหนึ่งของวิทยาการที่เข้ามาคือความรู้เกี่ยวกับการแทย์แผนตะวันตก ซึ่งนำความรู้เกี่ยวกับการเกิดโรคว่า เกิดจากสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ซึ่งมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น มิใช่เกิดจากผลกรรมหรืออำนาจลึกลับต่าง ๆ จากการที่ล่วงรู้ถึงสาเหตุของการเกิดโรค จึงนำไปสู่การพยายามทำวิธีการป้องกันมิให้เกิดโรคระบาดขึ้น เมื่อประกอบกับการเปลี่ยนแนวความคิดที่ให้ความสำคัญกับพลเมืองมากขึ้นในฐานะกำลังของประเทศ ทำให้รัฐมีนโยบายในการป้องกันการสูญเสียพลเมืองจากการระบาดของโรค อันนำไปสู่ความพยายามในการป้องกันการเกิดโรค ทั้งการออกพระราชบัญญัติต่าง ๆ การตั้งด่านกักโรค ตลอดจนการรักษาพยาบาล ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการพยายามของรัฐในช่วงนั้น แม้จะมิได้เห็นได้อย่างชัดเจนนักแต่ก็นับได้ว่าเป็นการวางรากฐานต่อการกัฒนาการป้องกันโรค และการสาธารณสุขแผนใหม่ในสังคมไทย

Share

COinS