Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A study of the operation of the school agriculture for lunch project as initiated by Her Royal Highness Princess Maha Chakri Sirindhorn in the elementary schools under the jurisdiction of the office of the National Primary Education Commission

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

สุมน อมรวิรัตน์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ประถมศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.197

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในด้านวัตถุประสงค์ ลักษณะการดำเนินงาน การบริหารโครงการ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ผลการวิจัยพบว่า 1. ด้านวัตถุประสงค์ โรงเรียนสามารถดำเนินงานได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการทุกข้อ โดยสามารถปลูกฝังนิสัยการช่วยเหลือตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่น และขยันหมั่นเพียรให้นักเรียนได้มากแก้ไขปัญหาการขาดแคลนอาหารกลางวันในโรงเรียน ให้นักเรียนได้มีความรู้ด้านการเกษตรแผนใหม่ มีความรู้ทางโภชนาการ การถนอมอาหาร และแปรรูปอาหารได้ในระดับปานกลาง และทำได้น้อยในประเด็นที่โรงเรียนเป็นแหล่งวิทยาการด้านการเกษตรของหมู่บ้าน 2. ด้านลักษณะการดำเนินงาน โรงเรียนมีการประชุมวางแผนการดำเนินงาน และจำทำแผนปฏิบัติงานได้เหมาะสมกับสภาพของโรงเรียน ส่วนการจัดทำแผนผังปลูกพืชและการใช้ประโยชน์จากแผนผังทำได้ในระดับน้อย โรงเรียนส่วนมากมีผลผลิตจากพืชและสัตว์ไม่พอที่จะนำมาใช้ในโครงการอาหารกลางวันได้อย่างต่อเนื่อง และมีโรงเรียนร้อยละ 40 ที่สามารถจัดอาหารเสริมให้นักเรียนทุกวัน 3. ด้านการบริหารโครงการ การส่งบุคลากรไปฝีกอบรมด้านการเกษตรและอาหารกลางวันอยู่ในระดับปานกลาง โรงเรียนส่งเฉพาะบุคลากรที่รับผิดชอบโครงการไปอบรมระยะสั้นช่วงเวลา 1-5 วัน โรงเรียนสามารถบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับกิจกรรมของโครงการด้านการเกษตรและอาหารกลางวันได้ดียิ่ง โดยแบ่งความรับผิดชอบให้นักเรียนร่วมดำเนินงานเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอน 4. ปัญหาการดำเนินงาน โรงเรียนส่วนใหญ่ยังไม่สามารถพัฒนาบุคลากรมากกว่าร้อยละ 50 ให้มีความรู้ และทักษะด้านการเกษตร และมีปัญหาด้านความร่วมมือจากผู้ปกครองนักเรียนในระดับปานกลาง ประสิทธิภาพการดำเนินงาน โรงเรียนประสบความสำเร็จในการช่วยเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรที่ใช้ในการประกอบอาหารกลางวัน สามารถบูรณาการกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับกิจกรรมของโครงการ ปลูกฝังนิสัยการช่วยเหลือผู้อื่นให้มีความขยันหมั่นเพียร และช่วยให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิจประจำวันได้มาก

Share

COinS