Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สภาพการจัดการเรียนการสอน ในโรงเรียนโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

State of the instructional management in schools under the project of opportunity expansion for basic education in the Northeastern region

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

สุมน อมรวิรัตน์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

ประถมศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.192

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนโครงการขยายโอกาสขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (2) สภาพ ความต้องการ และความคิดเห็นของผู้ปกครองที่ส่งเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนของโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน (3) ความต้องการและความรู้เดิมของนักเรียนที่เรียนต่อในโรงเรียนของโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผลการวิจัยสรุปว่า 1) สภาพการจัดการเรียนการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียน ประถมศึกษานั้น โรงเรียนมีเวลาเตรียมงาน 1-3 เดือน การประสานงานกับหน่วยงานอื่นทำได้น้อย หน่วยงานที่รับผิดชอบยังขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการ ซึ่งทำให้มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนด้านต่างๆ ในโรงเรียนบุคลากร ครูผู้สอนในวิชาต่างๆ ไม่เพียงพอโดยเฉพาะครูสอนวิชาอาชีพ จึงต้องเชิญวิทยากรจากองค์กรในท้องถิ่นมาช่วยสอน ด้านวิชาการ โรงเรียนจัดหลักสูตรและสอนในรูปแบบปกติ ครูได้รับการฝึกอบรมทางวิชาการและศึกษาดูงานจากโรงเรียนอื่น ได้รับการนิเทศจากศึกษานิเทศจังหวัด และครูวิชาการกลุ่ม ส่วนศูนย์วิชาการกลุ่มได้ช่วยเหลือด้านสื่อการสอน งบประมาณส่วนใหญ่ได้รับจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ แต่ยังไม่เพียงพอและล่าช้า ปัจจุบันอาคารสถานที่เพียงพอแต่จะมีปัญหาในปีการศึกษาต่อไป วัสดุ ครุภัณฑ์ และสื่อการสอนขาดแคลนและที่ต้องการเร่งด่วน คือสื่อการสอนวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาชีพ การประชาสัมพันธ์ใช้วิธีประชุมชี้แจงแก่ผู้ปกครองและกรรมการศึกษา ส่วนการจูงใจให้นักเรียนมาเรียนต่อ ทำโดยโรงเรียนทุกโรงไม่เก็บค่าบำรุงการศึกษาและจัดหาหนังสือให้นักเรียนยืมเรียน 2) ผู้ปกครองแสดงความเห็นว่า ถ้าโรงเรียนเก็บค่าบำรุงการศึกษาหรือโรงเรียนประถมศึกษาไม่เปิดสอนมัธยมศึกษา จะไม่ส่งลูกเรียน เพราะฐานะยากจนและโรงเรียนอยู่ไกล ต้องการให้โรงเรียนช่วยเหลือเรื่องทุนการศึกษาและอาหารกลางวัน ผู้ปกครองต้องการให้ลูกเรียนวิชาอาชีพ มีความมั่นใจและเห็นด้วยที่จะให้นักเรียนที่จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคนเรียนต่อจนจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้ปกครองมีความเห็นด้วยมากต่อโครงการฯ และการเปิดนสอนวิชาอาชีพและเห็นว่าโครงการฯ ช่วยให้โอกาสทางการศึกษาอย่างมากแก่เด็กชนบท 3)นักเรียนมีพื้นความรู้เดิมระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในเกณฑ์ดี และต้องการเรียนต่อในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดกรมสามัญศึกษาที่พร้อมกว่า แต่ที่ต้องเรียนในดรงเรียนประถมศึกษาของโครงการฯ เพราะอยู่ใกล้บ้านไม่เก็บค่าบำรุงการศึกษา และจัดหาหนังสือให้ยืมเรียน นักเรียนต้องการเรียนวิชาอาชีพ เพื่อเป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพและเรียนต่อระดับสูง มีความมั่นใจว่าจะเรียนจนจบมัธยมศึกษาปีที่ 3 แน่นอนและคาดหวังที่จะประกอบอาชีพรับราชการและเกษตรกรรม ตามลำดับ

Share

COinS