Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพการสอน ฐานะทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา ความเชื่อด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ในภาคเหนือ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The relationship betuveen marital status economics status, educational levels, health belief, social support and health behaviors of pregnant women in Northern Region
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
ณัฐนิภา คุปรัตน์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
บริหารการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.150
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายในลักษณะของการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์จากกลุ่มตัวอย่าง หญิงตั้งครรภ์ จำนวน 280 คน เครื่องมือในการวิจัยนี้คือ แบบสัมภาษณ์ความเชื่อด้านสุขภาพ แบบสัมภาษณ์การสนับสนุนทางสังคม แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา เท่ากับ .81, .79 และ .70 ตามลำดับ ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. คะแนนความเชื่อด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการป้องกันโรค พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ทั้งปกติ และมีการแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรค พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ที่สถานภาพการสมรสคู่ จดทะเบียนและไม่จดทะเบียน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. คะแนนพฤติกรรมการป้องกันโรค พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ และพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ สูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในกลุ่มที่มีการศึกษาสูง มีรายได้ของครอบครัวมากกว่า 1,500 บาท/เดือน และมีอาชีพไม่ใช้แรงงานและแม่บ้าน 4. ความเชื่อด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม ฐานะทางเศรษฐกิจ (รายได้ของครอบครัวต่อเดือน, อาชีพไม่ใช้แรงงานและแม่บ้าน) มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันโรค พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพ พฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันโรคของหญิงตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ระดับการศึกษา การสนับสนุนทางอารมณ์ การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ แรงจูงใจทางด้านสุขภาพ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ .45 (R = .4543) สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 20.64 (R² = .2064) 6. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การสนับสนุนทางด้านวัตถุและข้อมูลข่าวสาร แรงจูงใจทางด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางด้านอารมณ์ อาชีพไม่ใช้แรงงานและไม่บ้าน การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ภาวะคุกคามของโรคแทรกซ้อน ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ .55 (R = .5526) สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 30.54 (R² = .3054) 7. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์พฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ การสนับสนุนทางด้านอารมณ์ แรงจูงใจทางด้านสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ อาชีพไม่ใช้แรงงานและแม่บ้าน การรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคและการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ .57 (R = .5711) สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 32.61 (R² = .3261)
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
นวลบุญเรือง, ปริศนา, "ความสัมพันธ์ระหว่างสถานภาพการสอน ฐานะทางเศรษฐกิจ ระดับการศึกษา ความเชื่อด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ในภาคเหนือ" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36133.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36133