Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การหาปริมาณโลหะผสมสองธาตุบางชนิดด้วยเทคนิคการกระเจิงกลับ ของรังสีเบตา
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Determination of some binary alloy compositions using beta backscattering technique
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
นเรศร์ จันทร์ขาว
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิวเคลียร์เทคโนโลยี
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.583
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาการใช้เทคนิคการกระเจิงกลับของรังสีเบตาในการหาส่วนผสม ของโลหะผสมสองธาตุ ได้เลือกใช้ต้นกำเนิดรังสีเบตาพลังงานสูงคือ สตรอนเซียม -90 /อิตเทรียม-90 เพื่อให้ ได้ความเข้มของรังสีเบตากระเจิงกลับสูงและเพื่อลดความแปรปรวนของผลการวัดเกี่ยวกับความ ไม่เรียบของผิวตัวอย่าง จากผลการวิจัยพบว่าความหนาของตัวอย่างประมาณ 250 มิลลิกรัมต่อตาราง เซนติเมตรขึ้นไป จะให้ความเข้มรังสีเบตากระเจิงกลับอิ่มตัว เมื่อทดลองใช้เทคนิคนี้กับตัวอย่างโลหะ ผสมตะกั่ว-ดีบุกที่ได้จากโรงงานผลิตพบว่า ความเข้มของรังสีเบตากระเจิงกลับมีค่าเพิ่มขึ้นตามปริมาณ ตะกั่วในตัวอย่าง และยังได้พบว่าเมื่อใส่แผ่นอะลูมิเนียมสำหรับกรองรังสีเบตาไว้หน้าหัววัดไกเกอร์-มูลเลอร์ ทำให้ความไวเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการหาปริมาณตะกั่วในตัวอย่างโลหะผสมตะกั่ว-ดีบุก 22 ตัวอย่าง พบว่าได้ผลใกล้เคียงกับผลที่ได้จากวิธีการเรื่องรังสีเอกซ์ วิธีอะตอมมิกแอบซอร์บขัน และวิธีหาความถ่วงจำเพาะโดยพบว่าความเที่ยงตรงของวิธีนี้มีค่าประมาณ +0.5% ในขณะที่ความแม่นยําขึ้นอยู่กับตัวอย่าง มาตรฐานที่ใช้ในการปรับเทียบและความเป็นเนื้อเดียวกันของตัวอย่าง
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
บรรเทา, เดวิช, "การหาปริมาณโลหะผสมสองธาตุบางชนิดด้วยเทคนิคการกระเจิงกลับ ของรังสีเบตา" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36081.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36081