Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพบางอย่างตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 50

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Prohibition from performing certain kinds of occupation or profession according to the Penal Code, Section 50

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

มัทยา จิตติรัตน์

Second Advisor

กิตติพงษ์ กิตยารักษ์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.455

Abstract

การห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 50 เป็นมาตรการหนึ่งในวิธีการเพื่อความปลอดภัย ซึ่งตัดโอกาสบุคคลผู้กระทำความผิดที่เกี่ยวกับการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ มาตราการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันสังคมจากผู้ที่มีสภาพเป็นอันตรายมิให้กระทำความผิดขึ้นในอนาคต โดยมีพื้นฐานมาจากทฤษฎีป้องกันสังคมตามทฤษฎีนี้มุ่งหมายที่จะป้องกันสังคมให้พ้นจากอันตราย และป้องกันมิให้ผู้ประกอบอาชีพที่ติดจะกระทำความผิดในลักษณะเดียวกันเกิดความยับยั้งไม่กล้ากระทำความผิด ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการบังคับใช้วิธีการเพื่อความปลอดภัย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 50คือ การที่กฎหมายไม่ได้มีข้อกำหนดห้ามผุ้ถูกห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ กระทำการในทางอาชีพหรือวิชาชีพ แทนบุคคลอื่นหรือใช้บุคคลอื่นกระทำการแทนโดยผู้ถูกห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ เป็นผู้ให้คำสั่งด้วย ทำให้การบังคับมาตรการนี้ไม่บรรลุผลเท่าที่ควรและการเพิกถอนคำสั่งห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพ ควรนำหลักเกณฑ์ในการคุมประพฤติมาใช้ได้เมื่อเพิกถอนคำสั่งห้าม ทั้งนี้เพื่อให้แน่ใจว่าสภาพเป็นอันตรายนั้นได้หมดไปแล้วจริง การห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพนั้น กระทบกระเทือนต่อสิทธิพื้นฐานของบุคคลการนำมาใช้ต้องพิจารณาชั่งน้ำหนักระหว่างสภาพอันตรายต่อสังคมของบุคคล อันมีผลกระทบต่อความปลอดภัยของประชาชนหรือรัฐกับสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล หากมีการห้ามประกอบอาชีพหรือวิชาชีพแล้วรัฐควรพิจารณาหาอาชีพอื่นรองรับบุคคลเหล่านี้ด้วยเพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา

Share

COinS