Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การนำหลักการสมคบกันกระทำความผิดมาใช้เพื่อป้องกันปราบปราม ยาเสพติดในประเทศไทย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Using of conspiracy for narcotics suppression in Thailand
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
วีระพงษ์ บุญโญภาส
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.453
Abstract
ปัจจุบันความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้มีการกระทำในรูปแบบของขบวนการซึ่งมีลักษณะเป็นองค์กรอาชญากรรม โดยมีการแบ่งสายงานบังคับบัญชาเป็นลำดับชั้น และมีการจัดองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ หัวหน้าองค์กรจะเป็นผู้วางแผนการต่างๆ โดยไม่ได้เป็นผู้ลงมือกระทำความผิดเอง หรือในกรณีพรรคพวก ถูกจับกุมดำเนินคดีก็จะจัดหาทนายความที่เชี่ยวชาญกฎหมายคอยว่าต่างแก้ต่างให้ ตลอดจนจัดหาตัวตายตัวแทนคอยรับผิดแทนพรรคพวกของตนด้วย ดังนี้จึงเห็นได้ว่า ผู้เป็นหัวหน้าองค์กรซึ่งอยู่เบื้องหลังการกระทำความผิด เป็นบุคคลสำคัญที่มีผลต่อการคงอยู่หรือล้มเลิกขององค์กรอาชญากรรม การปราบปรามดำเนินคดีกับผู้เป็น หัวหน้าองค์กรจึงมีผลต่อการล้มเลิกขององค์กรอาชญากรรมได้ ในการศึกษามาตรการกฎหมายเรื่องตัวการ ผู้ใช้และผู้สนับสนุนเพื่อใช้ดำเนินคดีความผิดยาเสพติดพบว่ามาตรการดังกล่าวไม่อาจใช้ดำเนินการเพื่อป้องกันการลงมือกระทำความผิดเกี่ยวกันยาเสพติด และไม่อาจใช้ดำเนินการกับการกระทำบางลักษณะของผู้เป็นหัวหน้าองค์กรที่อยู่เบื้องหลังการกระทำความผิดได้ทั้งในการพิสูจน์ความผิดของหัวหน้าองค์กรก็กระทำได้ลำบาก เพราะว่า ความผิดเกี่ยวกันยาเสพติดมีลักษณะพิเศษคือ ปราศจากผู้เสียหาย และโดยลักษณะการตกลงแผนการกระทำความผิด ปกติก็จะกระทำโดยรวดเร็วและเป็นความลับยากแก่บุคคลภายนอกจะรู้ได้ พยานหลักฐานส่วนใหญ่จึงได้แก่ ผู้ร่วมกระทำความผิดซึ่งพยานประเภทนี้มีลักษณะเป็นการซัดทอดหรือเป็นผลร้ายต่อจำเลยอื่น ศาลจึงมักจะไม่รับฟังเป็นพยาน หรือรับฟังเป็นพยานแค่มีน้ำหนักน้อย ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจดำเนินการกับผู้เป็นหัวหน้าองค์กรรซึ่งเป็นต้นเหตุในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดได้ ในประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา มาตรการกฎหมายที่ใช้ดำเนินการกับหัวหน้าองค์กรเพื่อ ปราบปรามองค์กรอาชญากรรม ได้แก่ หลักกฎหมายสมคบกันกระทำความผิด โดยหลักกฎหมายดังกล่าวได้วางหลักลักษณะความผิดให้ครอบคลุมถึงการกระทำของผู้เป็นหัวหน้าองค์กรให้เป็นความผิดขึ้น โดยกำหนดให้การตกลงกันเพื่อจะกระทำความผิดแม้จะไม่ได้มีการกระทำความผิดตามที่ตกลงกันนั้น ก็เป็นความผิดแล้ว และในการตกลงกันนี้ได้มีการขยายขอบเขตให้กว้างขวาง ซึ่งการตกลงกันอาจจะตกลงกันโดยตรงหรือโดยปริยาย โดยวาจาหรือลายลักษณ์อักษรก็ได้ โดยผู้ที่ทำการตกลงกันอาจจะไม่อยู่ในสถานที่เดียวกัน หรือไม่เคย รู้จักกันมาก่อนก็ได้ และในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการพิสูจน์ความผิดของผู้เป็นหัวหน้าองค์กร ก็ได้มีการ กำหนดให้สามารถรับฟังพยานพฤติเหตุแวดล้อมกรณี และมีการยกเว้นหลักห้ามรับฟังพยานบอกเล่า โดยให้รับฟังคำรับของผู้ร่วมกระทำความผิดได้ วิทยานิพนธ์นี้ ผู้เขียนได้วิเคราะห์ถึงการนำหลักการสมคบกันกระทำความผิดมาใช้เพื่อปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งหลักกฎหมายดังกล่าวนี้มีลักษณะเป็นการป้องกันการกระทำความผิดและส่งเสริมมาตรการกฎหมายสาระบัญญัติทั่วไปให้มีประสิทธิภาพ โดยผู้เขียนได้วิเคราะห์ถึงผลดี และข้อจำกัดของหลักการสมคบกับกระทำความผิด ตลอดทั้งสรุปและเสนอแนะแนวทางแก้ไขข้อจำกัดดังกล่าวด้วย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สามิบัติ, ไวทยา, "การนำหลักการสมคบกันกระทำความผิดมาใช้เพื่อป้องกันปราบปราม ยาเสพติดในประเทศไทย" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36077.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36077