Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ข้อจำกัดการค้นหาข้อเท็จจริงของทนายจำเลยในคดีอาญา
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Fact finding of the defense lawyer in criminal case
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
มุรธา วัฒนะชีวะกุล
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.452
Abstract
การที่ผู้ต้องหาหรือจำเลยถูกกล่าวหาว่ากระทำความผลอาญา และถูกควบคุมตัวไว้เคยเราพนักงานของรัฐ สิทธิเบื้องต้นประการหนึ่งของผู้ต้องหาหรือจำเลยในการต่อสู้กับข้อกล่าวหา ได้แก่ การมีทนายช่วยเหลือ ดำเนินคดี อันถือได้ว่าเป็นรูปแบบการให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในทุกประเทศ และจากการศึกษาพบว่าทนายที่เข้ามาช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยนี้ ต้องรับภาระหน้าที่ ค้นหาข้อเท็จจริงต่างๆ และช่วยเหลือรวบรวมพยานหลักฐานแทนผู้ต้องหาหรือจำเลยด้วยเนื่องจากผู้ต้องหาหรือ จำเลยในคดีอาญาส่วนใหญ่จะไม่มีความสามารถและโอกาสในการค้นหาข้อเท็จจริงในคดี เพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์หรือ เพื่อหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้ด้วยตนเอง ในกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศหนึ่งที่ให้ความสำคัญ เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของทนายจำเลยในการค้นหาข้อเท็จจริง โดยเน้นบทบาทหน้าที่ของทนายให้เป็นองค์กรที่มี ส่วนร่วมในการค้นหาข้อเท็จจริงในฐานะเดียวกับหน้าที่ของรัฐ (quasi-judicial officer) กล่าวคือ ทนายจะมีบทบาทในการรักษาความยุติธรรมของสังคมเป็นหลักสำคัญ ในขณะเดียวกับที่ต้องปกป้องความเป็นธรรมในการพิจารณาคดีให้แก่ผู้ต้องหาหรือจำเลย การรักษาบทบาทหน้าที่ของทนายดังกล่าว จึงทำให้กฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญาต้องให้ทนายมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยค้นหาข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานต่างๆ ก่อนการพิจารณาคดี ในขณะเดียวกับที่การค้นหาข้อเท็จจริงร่วมกันในระหว่างการพิจารณาคดี ทนายต้องเสนอ ข้อเท็จจริงที่พบต่อศาลด้วยความรับผิดชอบต่อความเป็นธรรมในสังคม เพื่อให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลเป็นไปโดยความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า ทนายจะมีสิทธิในการให้ความ ช่วยเหลือผู้ต้องหาหรือจำเลยเพียงแค่การได้พบและปรึกษากับผู้ต้องหาหรือจำเลยเท่านั้น ทนายจะไม่ได้รับการรับรองตามกฎหมายให้มีบทบาทในการค้นหาข้อเท็จจริงใดๆ แทนผู้ต้องหาหรือจำเลย เพื่อค้นหาพยานหลักฐานพิสูจน์ความบริสุทธิ์หรือต่อสู้หักล้าพยานหลักฐานของโจทก์อย่างเต็มที่ อันเป็นผลเสียต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยที่จะ ถูกศาลพิจารณาพิพากษาลงโทษ โดยอาจมิใช่เป็นผู้กระทำความผิดที่แท้จริงตามที่โจทก์ฟ้อง แนวทางในการแก้ไข ข้อบกพร่องนี้จงควรมีการปรับปรุงประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาโดยน่าจะนำแนวความคิดเรื่องการคุ้มครองสิทธิของผู้ต้องหาหรือจำเลยในการต่อสู้คดี โดยให้ทนายมีหน้าที่ตามกฎหมายในการค้นหาข้อเท็จจริงแทนผู้ต้องหาหรือจำเลยอย่างเต็มที่ตั้งแต่ในสอบสวนจนถึงชั้นพิจารณาคดี
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วงศ์ขจรศิลป์, ไมตรี, "ข้อจำกัดการค้นหาข้อเท็จจริงของทนายจำเลยในคดีอาญา" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36076.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36076