Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างสภาจังหวัดกับผู้ว่าราชการจังหวัด

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Legal relation between the provincial council and the provincial governor

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

ประหยัด หงษ์ทองคำ

Second Advisor

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.450

Abstract

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นรูปแบบของการจัดระเบียบบริหารราชการส่วนท้องถิ่นของไทยรูปแบบหนึ่ง ตามที่ได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการส่วนจังหวัด พ.ศ. 2498 มีอำนาจในการจัดบริการสาธารณะในพื้นที่ของจังหวัดที่มิได้อยู่ในเขตของเทศบาลหรือสุขาภิบาลใดโดยมีองค์กรหลักที่สำคัญอยู่ 2 ส่วนคือ สภาจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำหน้าที่ในด้านการตราข้อบัญญัติของจังหวัด ควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารและการใช้จ่ายงบประมาณส่วนจังหวัดกับมีผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งมาจากการแต่งตั้งของกระทรวงมหาดไทย ทำหน้าที่หัวหน้าฝ่ายบริหารขององค์การบริหารส่วนจังหวัด จากการที่ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดตามที่กฎหมายกำหนดไว้อย่างกว้างขวาง แต่ในขณะเดียวกันสภาจังหวัดซึ่งเป็นองค์กรที่เป็นตัวแทนของประชาชนโดยตรง กลับไม่ค่อยมีอำนาจในการควบคุมการดำเนินงานของผู้ว่าราชการจังหวัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบกับการที่ผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะที่เป็นผู้บังคับบัญชาของราชการบริหารส่วนภูมิภาค มีอำนาจควบคุมกำกับการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ทำให้ผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งเป็นตัวแทนของทางราชการ เป็นผู้มีบทบาทต่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเป็นอย่างมาก ส่งผลให้องค์การบริหารส่วนจังหวัดมีลักษณะเป็นกึ่งท้องถิ่น กึ่งภูมิภาคมิได้เป็นองค์การปกครองท้องถิ่นที่เต็มรูปแบบบ ดังนั้น การแก้ไขกฎหมายเพื่อพัฒนาการดำเนินงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงควรกระทำโดยการให้สภาจังหวัดสามารถควบคุมการทำงานของฝ่ายบริหารให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามความต้องการของท้องถิ่นและประชาชนยิ่งขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัดควรมีหน้าที่เฉพาะในงานด้านการกำหนดนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยให้อำนาจในการควบคุมการปฏิบัติเป็นของปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ซึ่งควรเป็นข้าราชการส่วนท้องถิ่น) และให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นองค์กรเดียวที่ใช้อำนาจในการควบคุมกำกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด

Share

COinS