Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิธีพิจารณาความของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกครองในประเทศไทย

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The adjudication procedure of Administrative Committee in Thailand

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

วิชัย วิวิตเสวี

Second Advisor

นันทวัฒน์ บรมานันท์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.449

Abstract

การศึกษาวิทยานิพนธ์เรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงวิธีพิจารณาความของคณะกรรมการที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกครอง อันเป็นการกระทำที่มีลักษณะกึ่งตุลาการในประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่า คณะกรรมการที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกครองในประเทศไทยนั้น มีหลายคณะกรรมการที่ยังขาดหลักเกณฑ์วิธีพิจารณาอันชัดแจ้งและเป็นระเบียบแบบแผนในการอำนวยความเป็นธรรมกับประชาชนผู้ที่มีสิทธิของตนอาจถูกกระทบจากคำวินิจฉัยชี้ขาดและมิได้มีการนำเอาวิธีพิจารณาความมาใช้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการพิจารณาอย่างเหมาะสมดังที่คณะกรรมการที่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกครองในต่างประเทศถือปฏิบัติ ทั้งไม่มีกระบวนการในการควบคุมระบบวิธีพิจารณาให้มีการถ่วงดุลย์ซึ่งกันและกันภายในองค์กรคณะกรรมการ และนอกจากนี้ยังขาดองค์กรที่มีอำนาจควบคุมในด้านการวางหลักเกณฑ์และแก้ไขปรับปรุงเกี่ยวกับวิธีพิจารณาเพื่อให้วิธีพิจารณาของแต่ล่ะคณะกรรมการมีความเหมาะสมกับเรื่องที่ทำการวินิจฉัยชี้ขาด ดังนั้นจึงสมควรมีการตราพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาทางปกครองกำหนดหลักเกณฑ์และขั้นตอนต่าง ๆ สำหรับการพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาททางปกรองขึ้น และให้มีคณะกรรมการวิธีพิจารณาทางปกครองควบคุมแลการพิจารณาของคณะกรรมการ เพื่อให้การพิจารณาเป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและสามารถให้ความคุ้มครองสิทธิส่วนได้เสียของประชาชนอย่างเป็นธรรม และรักษาไว้ซึ่งผลประโยชน์ของประเทศชาติ

Share

COinS