Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงการค้ามันสำปะหลังระหว่างไทย และประชาคมยุโรป
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Legal Prlblems of Thailand-EC Cassava Trade Agreement
Year (A.D.)
1992
Document Type
Thesis
First Advisor
สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิติศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.1992.448
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัญหากฎหมายที่เกิดขึ้นจากการที่ประเทศไทยได้ทำข้อตกลงการค้ามันสำปะหลังกับประชาคมยุโรป ตลอดจนศึกษาวิวัฒนาการของการทำข้อตกลง VER ความเป็นมาของการค้ามันสำปะหลังระหว่างไทยและประชาคมยุโรป สถานะภาพทางกฎหมายของไทยในเวทีการค้าระหว่างประเทศ และศึกษาเรื่องการนำหลักเกณฑ์ของแกตต์มาช่วยในการเจรจาต่อรองการค้ามันสำปะหลังกับประชาคมยุโรป ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวข้อตกลงฯ เป็น VER ที่มีลักษณะพิเศษแตกต่างจาก VER ที่เกิดตามมาตรา 19, 6 และ 28 ของแกตต์ นอกจากนี้ยังเป็นข้อตกลงที่ทำขึ้นก่อนที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีแกตต์ แม้ภายหลังเข้าเป็นภาคีแกตต์แล้วก็ยังคงลักษณะเดิมโดยมิได้มีการนำหลักเกณฑ์ของแกตต์มาใช้ จึงทำให้เกิดปัญหาในการต่อรองเจรจา 2) ข้อตกลงฯ ดังกล่าวมีผลกระทบต่อกฎหมายภายใน กล่าวคือทำให้รัฐบาลไทยต้องออกกฎและระเบียบต่างๆ มาควบคุมและจัดสรรการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำประหลังที่จะส่งไปจำหน่ายยังประชาคมยุโรป 3) ก่อให้เกิดปัญหาด้านเศรษฐกิจการเมือง ซึ่งส่งผลต่อการเจราจาเนื่องจากการมีข้อตกลง VER ก่อให้เกิด Quota Rentsจากการเป็นผู้ควบคุมการส่งออก 4) ปัญหาเกี่ยวกับเนื้อหาสาระของตัวข้อตกลง เช่น การเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ตามมาตรา 28 พิกัดศุลกากร และนิยามของมันอัดเม็ด เป็นต้น ในฐานะที่ข้อตกลงการค้ามันสำประหลังยังคงมีผลใช้บังคับอยู่และมีแนวฌโน้มว่าจะมีการต่ออายุข้อตกลงต่อไปเรื่อย ๆ ดังนั้น ประเทศไทยควรดำเนินการดังนี้ 1) นำหลักเกณฑ์ตามมาตรา 28 ของแกตต์มาใช้ในการเจรจาแก้ไขและต่ออายุข้อตกลงครั้งต่อไป 2) ควรนำวิธีการประมูลโควต้ามาใช้เพื่อให้การจัดสรรโครต้าเป็นไปอย่างโปร่งใสและเพื่อเป็นการลดปัญหาทางเศรษฐกิจการเมืองของการจัดสรร Quota Rents ลงได้บ้าง 3) จัดให้มีหน่วยงานที่ทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการเจรจาการค้าระหว่างประเทศขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อขจัดความขัดแย้งของหน่วยงานต่าง ๆ ลง 4) ควรนำวิธีการเจรจาข้ามภาค cross – sectorial exchange) มาช่วยในการเจรจาแก้ไขความเสียเปรียบในมาตรา 3 (i) และ 3 (iii) (a) และเพิ่มบทบัญญัติในการบังคับให้เป็นไปตามข้อตกลง ในข้อตกลงฉบับใหม่ที่อาจมีขึ้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
จันทรสูตร, สมสกุล, "ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับข้อตกลงการค้ามันสำปะหลังระหว่างไทย และประชาคมยุโรป" (1992). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 36072.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/36072