Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาการใช้บังคับพระราชบัญญัติข้าราชการครู พ.ศ.2523 : ศึกษาเฉพาะกรณี การกำหนดตำแหน่ง การบังคับบัญชา และการรักษาการในตำแหน่ง

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The problem of the application of the teacher civil service act, B.E.2523 : a case study of position classification, Supervising and Acting in the post Temporarily

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

ประวีณ ณ นคร

Second Advisor

ชาญวิทย์ ยอดมณี

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.447

Abstract

ก่อนการใช้บังคับ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 นั้น การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูเป็นไปตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2518 และพระราชกฤษฎีการะเบียนข้าราชการครู พ.ศ. 2520 เหตุผลประการหนึ่งในการแยกข้าราชการครูออกจากข้าราชการพลเรือนก็ เพราะลักษณะงาน และตำแหน่งหน้าที่ของข้าราชการครูแตกต่างไปจากข้าราชการพลเรือนประเภทอื่น จึงได้มีระเบียบบริหารงานบุคคลที่เหมาะสมกับลักษณะวิชาชีพของราชการครูขึ้นใช้ปฏิบัติสำหรับข้าราชการครูโดยเฉพาะ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาวิเคราะห์ว่า หลักการบริหารงานบุคคลที่บัญญัติขึ้นสำหรับข้าราชการครูโดยเฉพาะ ในเรื่องการกำหนดตำแหน่ง การบังคับบัญชา และการรักษาการในตำแหน่งนั้นมีความเหมาะสมกับลักษณะงาน ตำแหน่งหน้าที่ของข้าราชการครูหรือไม่ ผลของการวิจัยพบว่า ในเรื่องกำหนดตำแหน่งข้าราชการครูนั้นบทบัญญัติที่นิยามความหมายของคำว่า “หน่วยงานทางการศึกษา" ยังมีข้อจำกัด ทำให้ ก.ค. ไม่อาจกำหนดตำแหน่งข้าราชการครูตามที่ส่วนราชการขอมาได้ นอกจากนั้นแล้วบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง การบังคับบัญชา และการรักษาการในตำแหน่งของข้าราชการครูยังขาดความชัดเจน ซึ่งทำให้เกิดปัญหาในการใช้บังคับ และการตีความทางกฎหมาย ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่าสมควรที่จะได้มีการปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523 ในกรณีดังกล่าวเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะงาน ตำแหน่งหน้าที่และเอื้ออำนวยต่อการบริหารงานของข้าราชการครูต่อไป

Share

COinS