Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปรียบเทียบระงับคดีตามกฎหมายศุลกากร

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Settlement of criminal cases under Customs Law

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ

Second Advisor

มานะ หลักทอง

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.443

Abstract

การเปรียบเทียบระงับคดีตามกฎหมายศุลกากรเป็นมาตรการแทนการดำเนินคดีอาญาที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมเนื่องจากเป็นมาตรการที่แก้ไขความบกพร่องของกระบวนยุติธรรมตามแบบพิธีและสอดคล้องกับทฤษฎีการลงโทษรวมทั้งทำให้คดีเสร็จสิ้นไปรวดเร็วเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตามกระบวนการดังกล่าวมีปัญหาอยู่หลายประการทั้งในด้านบทบัญญัติของกฎหมายและในทางปฏิบัติ กล่าวคือปัญหาเกี่ยวกับองค์ประกอบหรือหลักเกณฑ์ที่ทำให้การเปรียบเทียบระงับคดีมีผลสมบูรณ์, ขอบเขตอำนาจของอธิบดีและคณะกรรมการ, การเปรียบเทียบระงับคดีกรณีผู้กระทำผิดหลายคนและปัญหาเกี่ยวกับผลของการเปรียบเทียบระงับคดี ซึ่งเมื่อได้ศึกษาวิจัยปัญหาดังกล่าว วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงเสนอว่าในความเป็นจริงแล้ว อธิบดีสามารถมอบอำนาจให้บุคคลผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้ ทั้งนี้โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 32 และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2534 ส่วนอำนาจของคณะกรรมการเปรียบเทียบนั้นโดยเจตนารมณ์ของกฎหมายแล้ววิทยานิพนธ์ฉบับนี้พบว่าคณะกรรมการสามารถใช้อำนาจเหมือนเช่นอธิบดีได้ หากแต่การเปรียบเทียบระงับคดีต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายและภายในระยะเวลาอันจำกัด กล่าวคือถ้าอยู่ในขั้นตอนของศาลแล้วไม่ควรเปรียบเทียบระงับคดีได้และในกรณีผู้กระทำผิดหลายคนน่าจะปรับผู้กระทำผิดเรียงตัวได้ และหากการกระทำเป็นความผิดตามกฎหมายอื่นด้วยการที่จะเปรียบเทียบระงับคดีหรือไม่ หรือความผิดจะระงับหรือไม่ต้องคำนึงถึงหลักกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทด้วย

Share

COinS