Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Cancellation of trademark registration

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

ธัชชัย ศุภผลศิริ

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.437

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงหลักกฎหมาย การใช้บังคับและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเด็นที่สำคัญอันเกี่ยวกับเหตุผลในการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า พัฒนาการของการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทย และศึกษาถึงประเด็นที่เกี่ยวเนื่องอื่น ๆ เช่น ความเหมาะสมของกำหนดเวลา 5 ปี เพื่อฟ้องคดีเพิกถอนทะเบียนโดยอ้างสิทธิดีกว่าตามมาตรา 67 ของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 การพิสูจน์ว่าเครื่องหมายการค้าเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปตามมาตรา 8(11) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ความสำคัญของพยานหลักฐานเกี่ยวกับการใช้และการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยในกรณีพิสูจน์สิทธิดีกว่า ภาระในการพิสูจน์การใช้เครื่องหมายการค้าในคดีฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยอ้างเหตุแห่งการไม่ใช้เครื่องหมายการค้าตามมาตรา 63 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว โดยหลักกฎหมายตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เปรียบเทียบกับพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 และพระราชบัญญัติลักษณะเครื่องหมายการค้าและยี่ห้อการค้าขาย พ.ศ. 2457 และศึกษาเปรียบเทียบกับหลักกฎหมายระหว่างประเทศและกฎหมายต่างประเทศ ผลการวิจัยพบว่า หลักและการใช้บังคับกฎหมายเกี่ยวกับการเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในประเทศไทยได้พัฒนาขึ้นอย่างมากในช่วงของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 โดยมุ่งให้ความคุ้มครองแก่ผู้ประกอบการค้าสุจริตที่ใช้เครื่องหมายการค้านั้นมาก่อน โดยถือว่าสิทธิที่เกิดจากการใช้เครื่องหมายการค้ามาก่อน โดยเฉพาะใช้กับสินค้าในประเทศไทยย่อมเป็นสิทธิดีกว่าเหนือสิทธิที่เกิดจากการจดทะเบียน สำหรับพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มีแนวโน้มที่จะให้ความสำคัญแก่การพัฒนาทางด้านธุรกิจการค้ามากยิ่งขึ้น มีการรับเอกหลักการเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปเข้ามาไว้ในกฎหมาย กำหนดเวลา 5 ปี ตามมาตรา 67 เหมาะสมเฉพาะในกรณีที่ผู้จดทะเบียนก่อนสุจริต มิได้ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น กำหนดเวลา 5 ปีนี้ไม่เหมาะสมกับกรณีผู้จดทะเบียนก่อนไม่สุจริต ลอกเลียนนำเอาเครื่องหมายการค้าของ้ผุอื่นมาจดทะเบียนไว้เพราะก่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้าอันไม่เป็นธรรม และกำหนดเวลา 5 ปีนี้ก็ไม่ควรใช้กับกรณีเครื่องหมายการค้าที่พิพาทเป็นเครื่องหมายการค้าที่มีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไป เพราะผู้ประกอบการค้าที่มีความสามารถและสุจริต การได้รับการคุ้มครองในกรณีฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนอ้างเหตุการไม่ใช้ภาระการพิสูจน์ถึงการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวควรอยู่ที่ผู้จดทะเบียนในฐานะที่เป็นผู้ทราบข้อเท็จจริง และมีพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว

Share

COinS