Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทบาทสหประชาชาติในการแก้ไขวิกฤติการณ์อิรัก-คูเวตตามกฎบัตรสหประชาชาติ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The role of the United Nations in settling the Irag-Kuwait crisis in accordance with the UN charter

Year (A.D.)

1992

Document Type

Thesis

First Advisor

ชุมพร ปัจจุสานนท์

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

นิติศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.1992.435

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงบทบาทสหประชาชาติในการแก้ไขวิกฤติการณ์ อิรัก-คูเวต ตามกฎบัตรสหประชาชาติ โดยมีขอบเขตการศึกษาตั้งแต่เมื่ออิรักบุกยึดครองคูเวต ในวันที่ 2 สิงหาคม 1990 จนกระทั่งอิรักถอนทหารออกจากคูเวตในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 1991 ผลการศึกษาพบว่า สหประชาชาติได้ใช้อำนาจตามความในหมวด 7 กฎบัตรสหประชาชาติเป็นพื้นฐานทางกฎหมายในการดำเนินการ แต่มิได้ดำเนินการตามเนื้อความในกฎบัตรโดยตรง และยังมีปัจจัยทางการเมืองเข้ามาเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อการดำเนินการของสหประชาชาติ เช่น การสิ้นสุดสงครามเย็น ความร่วมมือระหว่างมหาอำนาจ วิกฤติการณ์พลังงาน นอกจากนั้น สหประชาชาติยังเคารพต่อกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและกฎหมายระหว่างประเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น กฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ และกฎเกณฑ์ในการทำสงคราม เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขการทำลายสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต จึงควรที่จะได้มีการส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศภูมิภาคต่างๆ ได้มีบทบาทร่วมกันในการรักษาสันติภาพอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น และสหประชาชาติควรที่จะได้พิจารณาจัดตั้งกองกำลังสหประชาชาติ ตามมาตรา 43 กฎบัตรสหประชาชาติ รวมทั้งการเข้าแทรกแซงในการตกลงลดอาวุธ และผลักดันให้บรรดารัฐต่างๆ หันมาใช้แนวทางกฎหมายระหว่าประเทศและกฎบัตรสหประชาชาติในการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างรัฐควบคู่ไปกับการดำเนินการทางการเมือง

Share

COinS