Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กลยุทธ์การบริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษา

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

UNIVERSITY LIBRARY MANAGEMENT STRATEGIES TO ENHANCELIFELONG LEARNING SKILLS OF STUDENTS

Year (A.D.)

2014

Document Type

Thesis

First Advisor

พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Second Advisor

ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

บริหารการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2014.102

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษา และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ห้องสมุดมหาวิทยาลัยทั้งของรัฐและเอกชน จำนวน 97 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI modified และเปรียบเทียบความแตกต่างใช้สถิติทดสอบ F-test ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดของการบริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษา ประกอบด้วย การบริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยในด้านนโยบายและระบบการบริหาร ทรัพยากรการเรียนรู้ บริการส่งเสริมการเรียนรู้ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และสมรรถนะและบทบาทของนักวิชาชีพสารสนเทศ และทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษามี 3 ทักษะหลัก คือ ทักษะการคิด ทักษะการเรียนรู้ และทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษาในภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ บริการส่งเสริมการเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ สมรรถนะและบทบาทของนักวิชาชีพสารสนเทศ สภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ นโยบายและระบบการบริหาร และ 3) กลยุทธ์การบริหารห้องสมุดมหาวิทยาลัยเพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษามี 5 กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย (1) กลยุทธ์การพัฒนาห้องสมุดให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตในยุคดิจิทัล (2) กลยุทธ์การส่งเสริมการใช้คลังปัญญาสถาบันเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษา (3) กลยุทธ์การสร้างนวัตกรรมการสอนการรู้สารสนเทศดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนิสิตนักศึกษา (4) กลยุทธ์การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ (5) กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักวิชาชีพสารสนเทศ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were 1) to study the framework of university library management to enhance lifelong learning skills of students; 2) to study the current state and the desirable state of university library management to enhance lifelong learning skills of students; 3) to develop university library management strategies to enhance lifelong learning skills of students. This study was conducted, using mixed method approach. The samples of the study were 97 state and private university libraries. Questionnaire and strategic evaluation form of feasibility and appropriateness were used as tools to collect data. Frequency, percentage, mean, standard deviation, PNI modified and F-test were used to analyze the collected data. The research findings showed that 1) The framework of university library management to enhance lifelong learning skills of students consist of five university library management: Management policy and system, learning resources, learning support services, learning environments and information professionals competency and roles and concerning three main lifelong learning skills of students: Thinking skills, learning skills and information technology and communication skills. 2) The overall current state of university library management to enhance lifelong learning skills of students was at a high level. Learning support services were at the highest level and information professionals competency and roles were at the lowest level. The overall of the desirable state was higher than the current state. Learning environments were at the highest level and management policy and system were at the lowest level. 3) The five main strategies of university library management to enhance lifelong learning skills of students were (1) Strategies to develop library as lifelong learning resources in the digital age. (2) Strategies to promote intellectual repository using for lifelong learning of students. (3) Strategies to innovate digital information literacy teaching for support lifelong learning of students. (4) Strategies to manage environment for lifelong learning and (5) Strategies to develop competency in lifelong learning of information professionals.

Share

COinS