Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองบนฐานของวัฒนธรรมและชุมชนโดยบูรณาการแนวการสอนพูดและการสลับภาษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารสำหรับนักเรียนในช่วงรอยต่อระดับประถมศึกษาปีที่ 1

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A DEVELOPMENT OF THAI AS A SECOND LANGUAGE INSTRUCTIONAL MODEL BASED ON CULTURAL AND COMMUNITY APPROACH BY INTEGRATING THE ORAL APPROACH WITH THE CODE-SWITCHING TO ENHANCE COMMUNICATIVE ABILITY OF TRANSITION STUDENTS TOWARDS FIRST GRADE

Year (A.D.)

2014

Document Type

Thesis

First Advisor

วรวรรณ เหมชะญาติ

Second Advisor

สร้อยสน สกลรักษ์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

การศึกษาปฐมวัย

DOI

10.58837/CHULA.THE.2014.54

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่สองบนฐานของวัฒนธรรมและชุมชนโดยบูรณาการแนวการสอนพูดและการสลับภาษาเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารสำหรับนักเรียนในช่วงรอยต่อระดับประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่างประชากร คือ เด็กชาวเขมรถิ่นไทยที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาที่สอง ที่อยู่ในช่วงรอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นเรียนอนุบาลไปสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และกำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนบ้านสังเม็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 4 จำนวน 18 คน ระยะเวลาในการทดลอง 5 สัปดาห์ แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะเตรียมการ 1 สัปดาห์ ระยะการสอน และระยะการประเมินผล 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แบบวัดความสามารถในการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ โดยขั้นตอนการเรียนการสอน 3 ระยะ คือ 1) ระยะเตรียมการ 2) ระยะการสอน ซึ่งประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักคือ ขั้นที่1 การสนทนาบนพื้นฐานวัฒนธรรมและชุมชน ขั้นที่ 2 การเชื่อมโยงสัญลักษณ์ และ ขั้นที่ 3 การฝึกภาษาในสถานการณ์ และ3) ระยะการประเมินผล 2. ผลการนำรูปแบบฯไปทดลองใช้ พบว่า ตัวอย่างประชากรมีค่าเฉลี่ยคะแนนรวมความสามารถในการสื่อสารหลังการทดลองสูงกว่าค่าเฉลี่ยคะแนนรวมก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were 1) to develop Thai as a second language instructional model based on cultural and community approach by integrating oral approach and code-switching to enhance communicative abilities of transition students towards first grade and 2) to study effects of using the instructional model to enhance communicative ability of transition students towards first grade. The samples were 18 transition students towards first grade in academic year 2014 of Sangmeg School, The Primary Educational Service Area Office of Srisaket area 4. The research durations of experiment were 5 weeks, divided into preparation phase 1 week and the teaching phase and evaluation phase 4 weeks, 20 hours per week. The research instrument were communicative abilities test. The data were analyzed by using arithmetic means, standard deviations, and t-test. Research results were as follows: 1. An instructional model consisted of three phases, which were 1) preparation phase 2) the teaching phase, consisting of 3 stages: stage 1 communication based on cultural and community, stage 2 reading and writing practice, and stage 3 practice conversation in various situations, and 3) evaluation phase. 2. The post-test scores on communicative abilities were higher than that the pre-test scores at the .01 level.

Share

COinS