Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาแบบวัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ในห้องเรียนระดับประถมศึกษา

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Development of a Classroom Learning Environment Scale for Primary Education

Year (A.D.)

2014

Document Type

Thesis

First Advisor

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การวัดและประเมินผลการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2014.34

Abstract

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ในห้องเรียนระดับประถมศึกษา 2) เพื่อพัฒนาแบบวัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ในห้องเรียนระดับประถมศึกษา 3) เพื่อตรวจสอบคุณภาพแบบวัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ในห้องเรียนระดับประถมศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่นักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 – 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 405 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ 2 ระดับ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย หาค่าความเที่ยงการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1. แบบวัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ในห้องเรียน ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบคือด้านกายภาพและด้านสังคม โดยแบบวัดสภาพแวดล้อมด้านกายภาพ มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ 2 ระดับจำนวน 40 ข้อ มีองค์ประกอบภายในแบบวัด 10 องค์ประกอบ มีค่าความเที่ยง 0.904 และแบบวัดสภาพแวดล้อมด้านสังคม มีลักษณะแบบมาตรประมาณค่าลิเคิร์ท 50 ข้อ มีองค์ประกอบภายในแบบวัด 10 องค์ประกอบ มีค่าความเที่ยง 0.668 2. แบบวัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ในห้องเรียนด้านกายภาพ มีดัชนีความสอดคล้องของโมเดล ได้แก่ ค่าไคสแควส์ (Chi-Square) เท่ากับ 26.92 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 22 ค่าความน่าจะเป็น (P) เท่ากับ 0.21 ค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.987 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.967 ค่าดัชนีกำลังสองส่วนที่เหลือ (RMR) เท่ากับ 0.035 และค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.024 3. แบบวัดสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ในห้องเรียนด้านสังคม มีค่าดัชนีความสอดคล้องของโมเดล ได้แก่ ไคสแควส์ (Chi-Square) เท่ากับ 39 องศาอิสระ (df) เท่ากับ 29 ความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ 0.10 ค่าดัชนีความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.987 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.981 ค่าดัชนีกำลังสองส่วนที่เหลือ (RMR) มีค่าเท่ากับ 0.033 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.029

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were 1) to study factors of classroom learning environment for primary education, 2) to development of a Classroom Learning Environment Scale (CLES) for primary education 3) to determine the quality of a Classroom Learning Environment Scale (CLES). The samples of this study were 405 grade 4-6 primary students in Bangkok. The data from questionnaire included checklist and Likert scale were analyzed by descriptive statistics, reliability, and confirmatory factor analysis. 1. Test environment for learning in the classroom consists of 2 factors; physical and social classroom environment. The questionnaire included a checklist of 40 items with reliability of 0.904 and Likert scale 50 items with the reliability of 0.668. 2. The goodness of fit indices for the physical classroom environment model were acceptable (Chi-Square at 26.92 with 22 degrees of freedom, p = 0.21, GFI = 0.987, AGFI = 0.967, RMR = 0.035, and RMSEA = 0.024). 3. The goodness of fit indices for the social classroom environment model were acceptable (Chi-Square at 39 with 29 of degrees of freedom, p =0.10, GFI = 0.987, AGFI = 0.981, RMR = 0.033, and RMSEA = 0.029).

Share

COinS