Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
DEVELOPMENT OF A PROBLEM-BASED LEARNING MODEL ON SOCIAL MEDIA IN COOPERATION WITH SEARCHING TECHNIQUES TO ENHANCE CRITICAL THINKING ABILITY OF UNDERGRADUATE STUDENTS
Year (A.D.)
2014
Document Type
Thesis
First Advisor
เนาวนิตย์ สงคราม
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2014.16
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ศึกษาผล และนำเสนอรูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลฯ 2) การศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิตหลังจากการเรียนตามรูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูล 3) การนำเสนอรูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ นิสิตปริญญาบัณฑิต จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยเพื่อวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิตคือ แบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณ Cornell critical Thinking Test Level Z กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตปริญญาบัณฑิต จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลฯ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ คือ 1) ผู้สอน 2) ผู้เรียน 3) เนื้อหาบทเรียน 4) การติดต่อสื่อสารบนสื่อสังคมออนไลน์ 5) การสืบค้นข้อมูล 6) การประเมินผล และขั้นตอนการพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลฯ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการนำเสนอปัญหา 2) ขั้นการทำความเข้าใจปัญหา3) ขั้นการวิเคราะห์ปัญหา 4) ขั้นการศึกษาค้นคว้าข้อมูลและดำเนินกิจกรรม 5) ขั้นการรวบรวมและสรุปข้อมูล 2. นิสิตปริญญาบัณฑิตมีการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการเรียนฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก 3. ผู้ทรงคุณวุฒิมีความคิดเห็นว่ารูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research to develop, try out, and propose problem-based learning on social media in cooperation with searching technique to enhance critical thinking ability of undergraduate students. The research methods comprised of four steps: Step 1: develop of a problem-based learning on social media in cooperation with searching technique model; Step 2: try out problem-based learning on social media in cooperation with searching technique model; Step 3: propose problem-based learning on social media in cooperation with searching technique model. The research results indicated that: 1. The six components of problem-based learning on social media in cooperation with searching technique model were : 1) Instructor; 2) Learner; 3) Content; 4) Social media; 5) Searching; 6) Evaluation and five steps of problem-based learning on social media in cooperation with searching technique model were: 1) Presentation of the problem; 2) Understanding the problem; 3) Problem Analysis; 4) Study and implementation; 5) Collect and summarize. 2. There were significant differences between student pretest and posttest in critical thinking score at the .05 level. The samples perceived that propose problem-based learning on social media in cooperation with searching technique to enhance critical thinking ability of undergraduate students was appropriate in high level. 3. The expert perceived that propose problem-based learning on social media in cooperation with searching technique to enhance critical thinking ability of undergraduate students was appropriate in higher level.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สินประกอบ, สุรศักดิ์, "การพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานบนสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกับเทคนิคการสืบค้นข้อมูลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนิสิตปริญญาบัณฑิต" (2014). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 35639.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/35639