Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภทของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
DEVELOPMENT OF AN OUTDOOR LEARNING MODEL WITH SCIENTIFIC METHOD BY USING AUGMENTED REALITY TECHNOLOGY ON MOBILE DEVICES TO ENHANCE OBSERVATION SKILLS AND CLASSIFICATION SKILLS OF GRADE ONE STUDENTS
Year (A.D.)
2013
Document Type
Thesis
First Advisor
เนาวนิตย์ สงคราม
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2013.21
Abstract
การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบฯ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบฯ และ 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเรียนรู้นอกห้องเรียน 5 คน ด้านวิธีการทางวิทยาศาสตร์ 7 คน และด้านเทคโนโลยีการศึกษา 7 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ แอพพลิเคชันตามรูปแบบการเรียนฯ แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภท แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนแบบรูบริค วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการเรียนรู้ 2) แหล่งเรียนรู้เสมือนนอกห้องเรียน 3) ระบบจัดการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ 4) การประเมินผลการเรียนรู้ มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) วางแผนสำรวจ 2) เตรียมความพร้อม 3) ออกเดินทางค้นหา 4) จำแนกข้อมูลลงบันทึก 5) สรุปผลการเดินทาง 6) แบ่งปันข้อค้นพบ ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภทของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภทหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research were: (1) to develop an outdoor learning model with scientific method by using augmented reality technology on mobile devices; and (2) to try out an outdoor learning model with scientific method by using augmented reality technology on mobile devices to enhance observation skills and classification skills of grade one students. (3) to present an outdoor learning model with scientific method by using augmented reality technology on mobile devices to enhance observation skills and classification skills of grade one students. The subjects in the model development consisted of nineteen experts: five outdoor learning experts, seven scientific method experts and seven educational technology experts. The subjects in the model experiment were 25 students from grade one students. The research instrument consisted of an expert interview form, a model evaluation form, an outdoor learning application, lesson plan. The data gathering instruments consisted of an observation skill and classification skill test and a behavior observation form scoring rubric. The data was statistically analyzed using mean standard deviation, and t-test.The research results that: The developed model consisted 4 components as follows: 1) Interaction; 2) Virtual Environment; 3) Learning Management System on Mobile Devices; and 4) Evaluations. The outdoor learning model with scientific method by using augmented reality technology on mobile devices contained six steps as follows: 1) Planning to collect; 2) Preparing Students; 3) Collecting the data; 4) Classifying the data; 5) Concluding the result; and 6) Exchanging the result to the class. The result indicated that students who participated in the outdoor learning model with scientific method by using augmented reality technology on mobile devices; had post-test score in observation skill and classification skill higher than such pre-test score at the .05 level of significance.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เมตตพันธุ์, ภสิทธ, "การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อส่งเสริมทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภทของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1" (2013). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 35431.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/35431