Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การนำเสนอแนวทางพัฒนาทักษะชีวิตของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Proposed guidelines for developing life skills of bangkok youth

Year (A.D.)

2012

Document Type

Thesis

First Advisor

อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

พัฒนศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2012.166

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)เพื่อสำรวจทักษะชีวิตของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร 2)เพื่อศึกษาบทบาทของกลุ่มเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครในการพัฒนาทักษะชีวิตของเยาวชน 3)เสนอแนวทางสำหรับกลุ่มเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานครเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร ใช้กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนในโรงเรียนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 2,160 คน ตามโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โรงเรียนในสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานครและโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา ซึ่งตั้งในเขตกรุงเทพชั้นใน เขตกรุงเทพชั้นกลาง เขตกรุงเทพชั้นนอก ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 1-3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 4-6 และระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพปีที่ 1-3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามการสำรวจทักษะชีวิตของเยาวชน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามโดยใช้สถิติการหาค่าเฉลี่ย (Mean) 2) แบบสัมภาษณ์กลุ่มเยาวชน นำข้อมูลจากแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มาสรุปและจัดการสนทนากลุ่ม (Focus group) ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าเยาวชนส่วนใหญ่มีทักษะชีวิตเรื่องการสร้างสัมพันธภาพ ความตระหนักรู้ในตนและความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นมากที่สุด ส่วนทักษะชีวิตเรื่องการตัดสินใจ การจัดการกับความเครียด ความภูมิใจในตนเองน้อยที่สุด ซึ่งบทบาทของกลุ่มเยาวชนในการเสริมสร้างทักษะชีวิต ส่วนใหญ่เป็นการเสริมสร้างทักษะชีวิตด้านตระหนักรู้ในตนและความรับผิดชอบต่อสังคม สำหรับแนวทางการพัฒนาทักษะชีวิตของเยาวชนในกรุงเทพมหานคร ต้องใช้ความร่วมมือจากหลายภาคส่วน เช่น ครอบครัว โรงเรียนและหน่วยงานภาครัฐและเอกชน โดยต้องเสริมพลังจากกลุ่มเยาวชนที่ได้ทำกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างทักษะชีวิตของเยาวชนในกรุงเทพมหานครอยู่แล้ว ซึ่งกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมทักษะชีวิตที่เยาวชนในกรุงเทพมหานครขาดทักษะชีวิตเรื่องการตัดสินใจ เรื่องการจัดการกับความเครียดและความภูมิใจในตนเอง ได้แก่ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น กิจกรรมการแสดงออกและกิจกรรมการวาดรูป

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objectives of this research are to survey, study the life skills of Bangkok school children and proposed the guidelines for developing their life skills. The research sample comprised of 2,160 students in the lower and upper secondary schools as well as vocational school located in Bangkok under the Office of the Basic Education Commission, Office of the Private Education Commission, Department of Education of the Bangkok Metropolitan Administration and Office of Vocational Education Commission. The research tools consist of the questionnaire, document study and interview. Data were analyzed by mean, interview and focus group. The result of the study can be concluded as follows: Most of the youth get a high score in interpersonal relationship, self awareness and empathy life skills but less score in decision making, coping with stress and self esteem. Most of the developing life skills get from joining youth groups are self awareness and social responsibility. To propose the guidelines for developing life skills of Bangkok youth, we need cooperation and support from many parts; family, school, government and private sector organization as well as the existing youth group. Organizing the activities that the youth can share ideas, do something together and drawing will assist to develop the lack of decision making, coping with stress and self esteem life skills of Bangkok youth.

Share

COinS