Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
บทบาทของครูสังคมศึกษาในการพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนประชาธิปไตยตัวอย่าง
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Roles of social studies teachers in developing democratic behaviors of secondary school students in democratic model schools
Year (A.D.)
2012
Document Type
Thesis
First Advisor
วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การสอนสังคมศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2012.100
Abstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของครูสังคมศึกษาในการพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนในโรงเรียนประชาธิปไตยตัวอย่างใน 3 ด้าน ได้แก่ (ก) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียน (ข) ด้านการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และ (ค) ด้านการปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของครู ประชากรเป็นครูสังคมศึกษาจำนวน 221 คน กลุ่มตัวอย่างนักเรียน 870 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองทั้งหมด 4 ชุด คือ แบบสอบถามครูสังคมศึกษาและนักเรียน แบบสังเกตการจัดกิจกรรมในชั้นเรียน และแบบสัมภาษณ์การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่ามัชฌิเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมในชั้นเรียน ครูสังคมศึกษาร้อยละ 87.7 ใช้การวิเคราะห์ข่าว เหตุการณ์บ้านเมือง ร้อยละ 86 ใช้การอภิปราย ร้อยละ 84.2 ใช้การวิเคราะห์กรณีตัวอย่าง และร้อยละ 79.2 ให้นักเรียนทำโครงงานโดยเฉพาะโครงงานจิตอาสาและโครงงานพัฒนาชุมชน และนักเรียนเห็นว่าครูจัดกิจกรรมดังกล่าวบ่อยครั้ง 2) กิจกรรมเสริมหลักสูตร ครูสังคมศึกษา ร้อยละ 76.5 จัดกิจกรรมลูกเสือ และ ครูสังคมศึกษาร้อยละ 81.9 เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดการเลือกตั้งประธานหรือหัวหน้าชุมนุม 3) การปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างของครูสังคมศึกษาที่สำคัญคือ มีความยุติธรรม ไม่ลำเอียง และ ใจกว้าง รับฟังความคิดเห็นของนักเรียน ซึ่งนักเรียนเห็นว่าครูปฏิบัติเป็นประจำ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to study the roles of social studies teachers in developing the democratic behaviors of secondary school students in democratic model schools in 3 aspects as follows: (a) classroom activities, (b) extra curriculum activities, and (c) role model. The population in this research was 221 teachers and the samples were 870 students. The research tools consisted of two sets of questionnaires for the teachers and the students, an observation form, and an interview form. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and contents analysis. The research results revealed that: 1) the classroom activities: 87.7% of the teachers used news analysis, 86% used discussions, 87.8% used case study analysis, and 79.2% used projects focused on volunteering and community development as the means of instruction, the students indicated that these activities were often used. 2) the extra curriculum activities: 76.5% of teachers organized scouting activities and 81.9% gave students the chance to participate in the student council president and student club chairperson elections. 3) the role model: 32% of teachers modeled being just, non-biased, broad-minded, and being able to listen to students’ opinions, the students indicated that the teachers role-modeled regularly
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ฦาชา, รุจน์, "บทบาทของครูสังคมศึกษาในการพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนประชาธิปไตยตัวอย่าง" (2012). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 35263.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/35263