Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเสริมพลังอำนาจที่มีต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of organizing non-formal activities based on the empowerment concept on self-care of the elderly

Year (A.D.)

2012

Document Type

Thesis

First Advisor

มนัสวาสน์ โกวิทยา

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

การศึกษานอกระบบโรงเรียน

DOI

10.58837/CHULA.THE.2012.73

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนากิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเสริมพลังอำนาจที่มีต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ (2) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเสริมพลังอำนาจที่มีต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุโรงพยาบาลนครชัยศรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามความต้องการการเรียนรู้ที่มีต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ แบบวัดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ แบบวัดทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ แบบวัดทัศนคติในการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ แผนการจัดกิจกรรมตามแนวคิดการเสริมพลังอำนาจที่มีต่อการดูแลสุขภาพตนเองผู้สูงอายุ และแบบวัดความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเสริมพลังอำนาจที่มีต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยสถิติทดสอบ (t-test) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเสริมพลังอำนาจที่มีต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีพลังอำนาจในการดูแลสุขภาพตนเองได้ 2. ผลการทดลองใช้กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน คือ (1) ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยทักษะในการดูแลสุขภาพตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยทัศนคติในการดูแลสุขภาพตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ผู้สูงอายุที่เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการเสริมพลังอำนาจที่มีต่อการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุอยู่ในระดับมากที่สุด

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this study were to 1) develop non-formal activities based on the empowerment concept on self-care of the elderly 2) study the effects of organizing non-formal activities based on the empowerment concept on self-care of the elderly. The research samples were thirty elderlies in elderly club. The research instruments were questionnaire regarding learning needs assessment | a knowledge test | skill test | an attitude test | an activities plan and satisfaction questionnaire . The data were analyzed by using means | standard deviation | dependent-samples (t-test) at .05 level of significance. The research results were as follows :1. Non-formal activities based on the empowerment concept on self-care of the elderly has affected the elderly to control self-care by themselves. 2. The results from using activities plans were presented as follow : 1) After the experiment, the mean scores in knowledge of elderlies were higher than the mean scores before the experiment at .05 level of significance 2) After the experiment, the mean scores in skill of elderlies were higher than the mean scores before the experiment at .05 level of significance 3) After the experiment, the mean scores in attitude of elderlies were higher than the mean scores before the experiment at .05 level of significance. 3. After the experiment, elderlies scores at highest level in satisfaction of the non-formal activitles based on the empowerment concept on self-care of the elderly.

Share

COinS