Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนารูปแบบโปรแกรมการบริหารสมองเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกลไกและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษา

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The development of a brain exercise program model to enhance motor fitness and creative thinking for elementry school students

Year (A.D.)

2011

Document Type

Thesis

First Advisor

วิชิต คนึงสุขเกษม

Second Advisor

ชัชชัย โกมารทัต

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

พลศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2011.154

Abstract

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบโปรแกรมการบริหารสมอง เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกลไกและความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครซึ่งนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 128 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม และกลุ่มควบคุม 2 กลุ่มๆ ละ 31 คน โดยใช้วิธีการจัดเข้ากลุ่มใช้ผลจากการทดสอบสมรรถภาพทางไกลไกและผลการทดสอบความคิดสร้างสรรค์ ผู้วิจัยดำเนินการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 50 นาที ทำการทดสอบสมรรถภาพทางกลไกและความคิดสร้างสรรค์ กับกลุ่มตัวอย่าง 4 กลุ่ม โดยใช้การทดสอบค่าที กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. รูปแบบโปรแกรมการบริหารสมองเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางกลไกและความคิดสร้างสรรค์ สำหรับนักเรียนประถมศึกษา มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.0 2. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ สมรรถภาพทางกลไกและความคิดสร้างสรรค์ของกลุ่มทดลองทั้งสองกลุ่ม ดีกว่าก่อนการทดลองในทุกตัวแปร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ กลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 มีสมรรถภาพทางกลไกและความคิดสร้างสรรค์สูงกว่า กลุ่มควบคุมทุกตัวแปร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this quasi-experimental research was to develop a brain exercise program to promote motor fitness and creativity of elementary school students. Samples in this study were 128 volunteer fourth grade students, allocated by the result of motor fitness and creativity tests into 2 experimental groups and 2 control groups with 31 subjects in each group. The experimental periods were 8 weeks with 2 days per week and 50 minutes per day. The inferential statistics was employed for hypotheses testing by using “t–test" at the level of the statistical significance at .05. It was found that: 1. A brain exercise program was validated with the index of congruence at 1.0 2. After 8 weeks, motor fitness and creative thinking of both experimental groups were better than before training at the significant level of .05. 3. After 8 weeks, motor fitness and creative thinking of both experimental groups were developed better than both control groups in all variables at the significant level of .05.

Share

COinS