Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลของโปรแกรมฝึกการตั้งเป้าหมายที่มีต่ออัตมโนทัศน์ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effects of a goal orientation training program on fifth grade students’ academic self-concept in science

Year (A.D.)

2011

Document Type

Thesis

First Advisor

ปิยวรรณ วิเศษสุวรรณภูมิ

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

จิตวิทยาการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2011.101

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการใช้โปรแกรมฝึกการตั้งเป้าหมาย ที่มีต่ออัตมโนทัศน์ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฝึกการตั้งเป้าหมายในคาบเรียนวิทยาศาสตร์ และกลุ่มที่ไม่ได้รับโปรแกรมฝึกการตั้งเป้าหมายในคาบเรียนวิทยาศาสตร์ ใช้เวลาในการดำเนินกิจกรรม ครั้งละ 60 นาที รวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง โดยนักเรียนทั้ง 2 กลุ่ม ทำแบบวัดอัตมโนทัศน์ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษาปีที่ 5 ในระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated Measures ANOVA) และการทดสอบค่าทีแบบเป็นอิสระ (Independent t-test)ผลการวิจัยพบว่า 1) ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฝึกการตั้งเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยคะแนนอัตมโนทัศน์ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับโปรแกรมฝึก การตั้งเป้าหมาย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฝึกการตั้งเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยคะแนนอัตมโนทัศน์ทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฝึกการตั้งเป้าหมาย และนักเรียนที่ไม่ได้รับโปรแกรมฝึกการตั้งเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมฝึกการตั้งเป้าหมาย มีค่าเฉลี่ยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์ สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purposes of this research were to study and compare the effects of a goal orientation training program on fifth grade students’ academic self-concept in science and science achievement. Subjects consisted of 2 classrooms of fifth grade students. The classrooms were randomly assigned into 2 groups: a goal orientation training group and a no– training group. The intervention involved 12 training sessions, with each session lasting 60 minutes. Instruments included an academic self-concept in science test and a science achievement test for fifth grade students. Pretest, posttest and follow-up test were administrated. One – Way Repeated Measures (ANOVA) and Independent t–test were employed for data analysis.The results were as follows : 1. Academic self-concept in science posttest and follow-up test scores of students in the goal orientation training group were higher than those in the control group at the .05 level of significance. 2. Academic self-concept in science posttest and follow-up test scores of students in the goal orientation training group were higher than the pretest scores at the .05 level of significance. 3. Differences between science achievement posttest and follow-up test scores of students in the goal orientation training group and those in the control group did not yield at the .05 level of significance. 4. Science achievement posttest and follow-up test scores of students in the goal orientation training group were higher than the pretest scores at the .05 level of significance.

Share

COinS