Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนวิชามวยไทยโดยใช้ผลการวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์เพื่อสร้างเสริมความสามารถทางด้านคิเนแมติกส์ของนิสิตปริญญาบัณฑิต
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Development of a muay thai instructional program using the result of the biomechanical analysis to enhance kinematics ability of undergraduate students
Year (A.D.)
2010
Document Type
Thesis
First Advisor
ถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์
Second Advisor
ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
พลศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2010.165
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์ด้านคิเนแมติกส์แม่ไม้มวยไทย ของนักมวยสมัครเล่นทีมชาติไทย และเพื่อพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนการสอน ที่มาจากผลการวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์เพื่อสร้างเสริมความสามารถด้านคิเนแมติกส์ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิต ทำการวิเคราะห์ภาพจากวิดีโอจากการแข่งขันจริงของนักมวยไทยสมัครเล่นทีมชาติไทยและนำมาพัฒนาเป็นโปรแกรมการเรียนการสอนวิชามวยไทยประกอบด้วย 13 ทักษะ มีด้านเวลา ความเร็ว อัตราเร่ง และมุม โดยมีความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 นำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตชายวิชาเอกพลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2553 จำนวน 20 คน โดยทำการจัดเข้ากลุ่มแบบสมมูลย์กันทีละคู่ 2 กลุ่มๆละ 10 คน กลุ่มทดลองทำการฝึกตามโปรแกรมการเรียนการสอนวิชามวยไทยที่พัฒนามาจากการวิเคราะห์ชีวกลศาสตร์ และกลุ่มควบคุมทำการฝึกตามโปรแกรมตามปรกติทำการฝึกตามโปรแกรมเป็นเวลาแปดสัปดาห์ๆละ สามวัน ทำการทดสอบความสามารถทางคิเนแมติกส์ หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 นำผลได้ที่มาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มทดลองทั้ง 2 กลุ่ม(Independent t – test)หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนวิชามวยไทยโดยใช้ผลการวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์เพื่อสร้างเสริมความสามารถทางคิเนแมกติกส์ของนิสิตระดับปริญญาบัณฑิตสามารถพัฒนา ความสามารถทางคิเนแมติกส์ได้ดีกว่ากลุ่มควบคุม หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ในทักษะจำนวน 9 ทักษะ คือ1)ทักษะการเตะซ้าย ด้านเวลา 2)ทักษะการเข่าซ้าย ด้านเวลา ความเร็ว และอัตราเร่ 3)ทักษะการเข่าขวา ด้านเวลา ความเร็ว อัตราเร่ง และ มุม 4) ทักษะการศอกซ้าย ด้านเวลา 5)ทักษะการศอกขวา ด้านเวลา และอัตราเร่ง 6)ทักษะการถีบซ้าย ด้านเวลา ความเร็ว และอัตราเร่ง 7)ทักษะการใช้แม่ไม้ดับชวาลาด้านเวลา อัตราเร่ง และ มุม 8)ทักษะการใช้แม่ไม้มอญยันหลัก ด้านเวลา ความเร็ว และอัตราเร่ง 9)ทักษะการใช้แม่ไม้หักคอเอราวัญ ด้านความเร็ว และอัตราเร่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this research were to analyze the biochemical kinematics of Thai national amateur boxers and to develop a subsequent instructional program in order to promote kinematic ability among undergraduate students. First, a video of Thai national boxing competition was recorded and analyzed. Then an instructional program for Thai boxing was developed. The program consists of 13 skills in terms of time, speed, acceleration and angle and is based on relevance of content and the index of congruence between 0.80 and 1.00. The subjects were 20 undergraduate physical education major students of Kasetsart University academic year 2010 who were paired up into 2 groups and each group had 10 students. The experimental group practiced using the program of biochemical kinematics being developed. The controlled group used the regular teaching program. Both groups spent 3 day a week for 8 weeks for the training. The test for kinematics was performed at the 8th week. The data obtained was statistically calculated by using standard deviation and then the two groups were compared. The result showed that teaching MuayThai via the biochemical kinematics could improve higher kinematics among bachelor students level than the control group. The nine improved skills were 1) kicking skill in terms of time; 2) the left knee skill in terms of time, speed and acceleration; 3) the right knee skill in terms of time, speed, acceleration, and angle; 4) the left elbow skill in terms of time; 5) the right elbow skill in terms of time and acceleration; 6) the left pushing skill in terms of time, speed and acceleration; 7) Dab Chawala skill in terms of time, acceleration and angle; 8) Mon Yan Lak skill in terms of time, speed and acceleration; 9) Hak Kor Erawan skill in terms of speed and angle. These skills had significantly difference at 0.05.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
มหานิยม, สบสันติ์, "การพัฒนาโปรแกรมการจัดการเรียนการสอนวิชามวยไทยโดยใช้ผลการวิเคราะห์ทางชีวกลศาสตร์เพื่อสร้างเสริมความสามารถทางด้านคิเนแมติกส์ของนิสิตปริญญาบัณฑิต" (2010). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 34760.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/34760