Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจยอมรับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานของคณาจารย์คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Causal factors affecting adoption decision process for blended learning of faculty of education instructors
Year (A.D.)
2010
Document Type
Thesis
First Advisor
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2010.27
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจยอมรับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานของคณาจารย์คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อ กระบวนการตัดสินใจยอมรับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ของคณาจารย์คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ คณาจารย์คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2553 จำนวน 222 คน ตัวแปรแฝงในการวิจัยมีทั้งสิ้น 8 ตัวแปร วัดผ่านตัวแปรสังเกตได้ 20 ตัวแปร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเบื้องต้น การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (LISREL) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ผลการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องพบว่า มีปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจยอมรับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ของคณาจารย์คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ จำนวน 15 ปัจจัย แบ่งเป็น 3 ปัจจัยหลัก คือ ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้สอน ได้แก่ 1) บุคลิกภาพ 2) สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม 3) พฤติกรรมการสื่อสาร และ 4) การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน ถัดมาคือปัจจัยด้านการบริหารจัดการของหน่วยงาน ได้แก่ 5) บทบาทของผู้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง 6) นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน 7) ความพร้อมด้านเทคโนโลยี 8) การพัฒนาบุคลากร 9) การช่วยเหลือด้านเทคนิค และ 10) การได้รับความนับถือ ยกย่อง สุดท้ายคือปัจจัยด้านคุณลักษณะของการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ได้แก่ 11) ด้านประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง 12) ความเข้ากันได้ 13) ความซับซ้อน 14) การทดลองใช้ และ 15) การสังเกตเห็นผลได้ 2. โมเดลที่พัฒนามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2 = 322.28, df = 148, p = 0.00, χ2/df = 2.178, RMSEA = 0.073, GFI = 0.873, AGFI = 0.819, PGFI = 0.615, NFI = 0.985, CFI = 0.989, RMR = 0.038, Standardized RMR = 0.047) โดยมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยด้านคุณลักษณะของผู้สอนเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงที่เป็นบวกต่อขั้นความรู้และขั้นการตัดสินใจ และมีอิทธิพลทางอ้อมที่เป็นบวกตั้งแต่ขั้นการจูงใจเป็นต้นไป โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดคือพฤติกรรมการสื่อสาร รองลงมาคือสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม การใช้เทคโนโลยีในการจัดการเรียนการสอน และบุคลิกภาพ ตามลำดับ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการของหน่วยงานเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงที่เป็นบวก ต่อขั้นความรู้เพียงขั้นเดียวและเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุดในขั้นนี้ นอกจากนี้ยังมีอิทธิพลทางอ้อมที่เป็นบวกตั้งแต่ขั้นการจูงใจเป็นต้นไป และมีอิทธิพลทางอ้อมมากที่สุดในขั้นการจูงใจ โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดคือการพัฒนาบุคลากร รองลงมาคือการช่วยเหลือด้านเทคนิค ความพร้อมด้านเทคโนโลยี การได้รับความนับถือยกย่อง นโยบายด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน และบทบาทของผู้มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลง ตามลำดับ ปัจจัยด้านคุณลักษณะของการเรียนการสอนแบบผสมผสานเป็นปัจจัยที่อิทธิพลทางตรงต่อขั้นการจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ และขั้นการยืนยัน และมีอิทธิพลทางอ้อมที่เป็นบวกตั้งแต่ขั้นการตัดสินใจเป็นต้นไป โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุดคือการทดลองใช้ รองลงมาคือความซับซ้อน ความเข้ากันได้ การสังเกตเห็นผลได้ และประโยชน์ที่เกี่ยวข้อง ตามลำดับ นอกจากนี้ผลการวิจัยพบว่า ในแต่ละขั้นของกระบวนการตัดสินใจยอมรับการเรียนการสอนผสมผสาน เป็นปัจจัยมีอิทธิพลทางตรงที่เป็นบวกต่อกระบวนการตัดสินใจยอมรับการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ในขั้นถัดไปต่อเนื่องกันไปจนถึงขั้นการยืนยันด้วยเช่นกัน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research were 1) to synthesize factors affecting adoption decision process for blended learning of faculty of education instructors and 2) to develop and examine the model’s goodness of fit with the empirical data. The research samples consisted of 222 faculty of education instructors who teaching in second semester, academic year 2010. The latent variables were eight variables and the observed variables were twenty variables. The data were collected by questionnaires and analyzed by employing descriptive statistics, correlation coefficient and linear structural equation model (LISREL). The major findings were as follows: 1.The result of study found the fifteen factors that affected to adoption decision process for blended learning. First group included teacher’s personalities, socio-economic status, communication behaviors and technology using skills. Second group included change agent roles, technology for instruction policies, infrastructures, human resources development, technical support and admiration from organization. Last group included attribute of blended learning: relative advantage, compatibility, trialability, complexity and observablility. 2.The causal model was fitted to empirical data (χ2 = 322.28, df = 148, p = 0.00, χ2/df = 2.178, RMSEA = 0.073, GFI = 0.873, AGFI = 0.819, PGFI = 0.615, NFI =0.985, CNFI = 0.989, RMR = 0.038, Standardized RMR = 0.047). The details were as follows: Teacher characteristics factors had positive direct effects to knowledge stage and decision stage. Besides, these factors were positive indirect effects to adoption decision process from persuasion stage to confirmation stage. Variables that had the highest factors loading were communication behaviors, socio-economic status, technology using skills and personalities respectively. Academic administrations factors had positive direct effects to knowledge stage only and were the most effective variable in this stage. In addition, these factors were positive indirect effects to adoption decision process from persuasion stage to confirmation stage. Variables that had the highest factors loading were human resources development, technical support, infrastructures, admiration, technology for instruction policies, and change agent roles respectively. Attributes of blended learning factors had positive direct effects to persuasion stage, decision stage, and confirmation stage. Furthermore, these factors were indirect effects to adoption decision process from decision stage to confirmation. Variables that had the highest factors loading were trialability, complexity, compatibility, observablility, and relative advantage respectively. Moreover, each stage of adoption decision process had positive direct effects to next stages continuously.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ตัณฑะผลิน, ปิยพจน์, "ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการตัดสินใจยอมรับการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานของคณาจารย์คณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์" (2010). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 34622.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/34622