Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตอบสนองฉับพลันของพลังและความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดต่อวิธีการฝึกพลังอดทนโดยใช้การพักภายในเซ็ทที่แตกต่างกัน

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ACUTE POWER OUTPUT AND BLOOD LACTATE CONCENTRATION RESPONSES TO POWER ENDURANCE TRAINING PROTOCOLS USING DIFFERENT INTRA-SET REST

Year (A.D.)

2016

Document Type

Thesis

First Advisor

ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์

Faculty/College

Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์การกีฬา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2016.788

Abstract

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการตอบสนองฉับพลันของพลังและความเข้มข้นของแลคเตทในเลือดต่อวิธีการฝึกพลังอดทนโดยใช้การพักภายในเซตที่แตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชาย ช่วงอายุ 18-25 ปี ไม่มีโรคประจำตัว จำนวน 15 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling) ทำการทดลองการตอบสนองฉับพลันของพลังและความเข้มข้นในเลือดต่อวิธีการฝึกพลังอดทนโดยการฝึกด้วยน้ำหนักท่าแพระเรลสควอท (Parallel squat) ด้วยเครื่องออกกำลังกายที่ใช้แรงต้านจากแรงดันอากาศ ที่ความหนัก 30 เปอร์เซ็นต์ ของ 1 อาร์เอ็ม (1RM) ให้ผู้เข้าร่วมการทดลองออกแรงเอาชนะแรงต้านอย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้การถ่วงดุลลำดับ (Counterbalancing) ใน 4 เงื่อนไข คือ เงื่อนไขที่ 1 ฝึก 30 ครั้ง โดยไม่มีการพัก เงื่อนไขที่ 2 ฝึก 15 ครั้ง สลับการพัก 15 วินาที จนครบ 30 ครั้ง เงื่อนไขที่ 3 ฝึก 10 ครั้ง สลับการพัก 15 วินาที จนครบ 30 ครั้ง เงื่อนไขที่ 4 ฝึก 5 ครั้ง สลับการพัก 15 วินาที จนครบ 30 ครั้ง โดยจะมีการเจาะเลือดก่อนการทดลองและหลังการการทดลอง 5 นาที นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำและเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี (Bonferroni) ผลการวิจัย ผลว่าวิธีการฝึกพลังเฉลี่ยโดยการฝึก 5 ครั้ง สลับการพัก 15 วินาที จนครบ 30 ครั้ง มีค่าพลังอดทนมากกว่าการฝึก 30 ครั้ง โดยไม่มีการพัก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และหลังจากการฝึก 5 นาที ยังมีค่าแลคเตทในเลือดน้อยกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย วิธีการฝึกพลังเฉลี่ยโดยการฝึก 5 ครั้ง สลับการพัก 15 วินาที จนครบ 30 ครั้ง มีค่าพลังอดทนมากที่สุดและค่าแลคเตทในเลือดน้อยที่สุด สามารถนำไปใช้ในการฝึกเพื่อพัฒนาพลังอดทนได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this research was to study and compare acute power output and blood lactate concentration responses to power endurance training protocols using different intra-set rest. Method: Fifteen male undergraduate students aged 18-25 from Faculty of Sports Science Chulalongkorn University performed a parallel squat with a pneumatic resistance. We used a weight of 30% of 1RM by letting the participants do it as quickly as they can. By using sequence balancing (Counterbalancing) in 4 conditions of the resistance and using counter balance for all 4 conditions as follows: Condition1: 30 repetitions without rest. Condition2: 2×15 repetitions with 15 seconds of rest between each 15 repetitions. Condition3: 3×10 repetitions with 15 seconds of rest between each 10 repetitions. Condition4: 6×5 repetitions with15 seconds of rest between each 5 repetitions; with blood testing both before and after training for 5 minutes. For every condition we then analyzed the results and compare it to see the differences between the sample groups. Results: The results of the study of 6×5 repetitions with15 seconds of rest between each 5 repetition; were significantly higher than doing the 30 repetitions without rest course at a rate of .05. However, before the experiment, the level of lactate in the blood was not different but after the experiment of 5 minutes. The lactate in the blood was less with the rate of .05. Summary: The results show that the training of 6X5 repetition with 15 seconds of rest between each 5 repetitions; have the most endurance power and less lactate in the blood. This could be used to train in order to improve power endurance.

Share

COinS