Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาเซปักตะกร้อ
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
PHYSICAL FITNESS NEEDS OF SEPAKTAKRAW PLAYERS
Year (A.D.)
2014
Document Type
Thesis
First Advisor
ชัชชัย โกมารทัต
Faculty/College
Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การกีฬา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2014.1103
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกาย และกำหนดระดับความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกายของกีฬาเซปักตะกร้อ โดยใช้เทคนิควิธีวิจัยแบบเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านกีฬาเซปักตะกร้อ จำนวน 19 คน ดำเนินการเก็บข้อมูล 3 รอบ รอบที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์ รอบที่ 2 และรอบที่ 3 เป็นแบบสอบถามปลายปิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ นำข้อมูลที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญในรอบที่ 3 มาวิเคราะห์สรุปผลการศึกษา โดยหาค่ามัธยฐาน (Median: Md) ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile range: IR) และค่าสัมบูรณ์ความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับค่าฐานนิยม (|Md-Mo|) เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการวิจัยพบความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกายเกี่ยวกับ องค์ประกอบของสมรรถภาพทางกายด้านกล้ามเนื้อ ได้แก่ 1) ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ 2) ความทนทานของกล้ามเนื้อ 3) พลังของกล้ามเนื้อ 4) ความอ่อนตัว 5) การทรงตัว 6) การทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ 7) เวลาปฏิกิริยา 8) ความไว 9) ความคล่องแคล่วว่องไว 10) ความเร็ว และ องค์ประกอบสมรรถภาพทางกายด้านระบบพลังงาน ได้แก่ 1) ระบบพลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจน 2) ระบบพลังงานแบบใช้ออกซิเจน ตามลำดับ 2. ระดับความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกายในภาพรวมพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีการรับรู้ถึงระดับความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกายที่สอดคล้องกันทุกข้อ คือ มีค่าสัมบูรณ์ความแตกต่างระหว่างค่ามัธยฐานกับค่าฐานนิยมน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.00 (|Md-Mo| ≤ 1.00) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์น้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.50 (IR ≤ 1.50) และเรียงระดับความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกายตามค่ามัธยฐาน พบว่า สมรรถภาพทางกายด้านกล้ามเนื้อ 3 อันดับแรก ที่มีระดับความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับสูง ได้แก่ ความอ่อนตัว, การทำงานประสานกันระหว่างระบบประสาทกับกล้ามเนื้อ, พลังของกล้ามเนื้อ (Md = 4.97, 4.94, 4.89) ตามลำดับ และสมรรถภาพทางกายด้านระบบพลังงาน พบว่าระบบพลังงานแบบไม่ใช้ออกซิเจนมีระดับความต้องการจำเป็นอยู่ในระดับสูง (Md=4.71) และระบบพลังงานแบบใช้ออกซิเจน อยู่ในระดับกลาง (Md=3.45) ตามลำดับ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposed of this research was to study Physical Fitness needs and determined level physical fitness needs of Sepaktakraw players by using Delphi technique, the subject were 19 experts of Sepaktakraw sports. The Delphi technique consisted of 3 rounds. The first round, questionnaire was an interviewed form. The second and the third round was the five points scale rating close - ended questionnaires that were calculated to find median (Md), interquartile range (IR) and absolute value of the difference between median and mode (|Md-Mo|) to summarize the study Results Conclusion 1. The result revealed Physical Fitness needs muscular fitness that was 1) Muscular Strength 2) Muscular Endurance 3) Muscular Power 4) Flexibility 5) Balance 6) Muscular Coordination 7) Reaction time 8) Quickness 9) Agility 10) Speed and Energy fitness was Anaerobic Energy Systems and Aerobic Energy Systems 2. The level of Physical Fitness needs found that all the experts had the same level of Physical Fitness needs, the absolute value of the difference between median and mode is less than or equal 1.00 (|Md-Mo|≤1), the interquartile range was less than or equal 1.50 (IR ≤ 1.50). Arrangement level of Physical Fitness needs by median (Md) found three levels of Physical Fitness of muscular needs on high level that is flexibility, muscular coordination and muscular power (Md = 4.97, 4.94, 4.89). Physical Fitness of energy system found that needs on Anaerobic Energy Systems was high level (Md=4.17) ,and needs on Aerobic Energy Systems was medium level (Md=3.45)
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
งามหมู่, จักรพงษ์, "ความต้องการจำเป็นด้านสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาเซปักตะกร้อ" (2014). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 34530.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/34530