Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลฉับพลันขณะฝึกด้วยแรงต้านจากแรงดันอากาศด้วยความหนักที่ต่างกันที่มีต่อพลังสูงสุด แรงสูงสุดและความเร็วสูงสุด

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ACUTE EFFECTS DURING PNEUMATIC RESISTANCE TRAINING USING DIFFERENT INTENSITY ON PEAK POWER, FORCE AND VELOCITY

Year (A.D.)

2014

Document Type

Thesis

First Advisor

ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์

Faculty/College

Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์การกีฬา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2014.1075

Abstract

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันขณะฝึกด้วยแรงต้านจากแรงดันอากาศด้วยความหนักต่างกันที่มีต่อพลังสูงสุด แรงสูงสุดและความเร็วสูงสุด วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชาย ช่วงอายุ 18-25 ปี จำนวน 13 คนและกลุ่มตัวอย่างจะต้องมีอัตราส่วนความแข็งแรงต่อน้ำหนักตัวมากกว่า 1.5เท่า โดยผู้วิจัยใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ในการทดลองใช้วิธีถ่วงดุลลำดับโดยจะต้องทำการฝึก Squat ด้วยแรงต้านจากแรงดันอากาศ ทั้ง 6 การทดลอง ได้แก่ ความหนักที่ 15% 30% 45% 60% 75% และ 90 % ของ1 RM จำนวน 3 ครั้ง 1 เซต ใช้ระยะเวลาในการทดสอบทั้งหมด 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของพลังสูงสุด แรงสูงสุดและความเร็วสูงสุดขณะฝึกแรงต้านจากแรงดันอากาศด้วยความหนักต่างกัน โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One way analysis of variance with repeated measure) หากพบว่ามีความแตกต่างกันจะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีของบอนเฟอโรนี (Bonferroni) ผลการวิจัย 1.ค่าพลังสูงสุดในขณะทำท่า Squat ที่ความหนัก 15% มีค่าพลังมากกว่า ความหนักที่ 60% 75% และ 90% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.ค่าแรงสูงสุดในขณะทำท่า Squat ที่ความหนัก 90% มีค่าแรงมากกว่า ความหนักที่ 15% 30% และ 45% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ค่าความเร็วสูงสุดในขณะทำท่า Squat ที่ความหนัก 15% มีค่าความเร็วมากกว่า ความหนักที่ 30% 45% 60% 75% และ 90% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย ในการฝึกด้วยแรงต้านจากแรงดันอากาศในขณะทำท่า Squat ความหนักที่ 15% มีความเหมาะสมที่จะฝึกเพื่อพัฒนาพลังกล้ามเนื้อ ความหนักที่ 90% มีความเหมาะสมที่จะฝึกเพื่อพัฒนาแรงกล้ามเนื้อ และความหนักที่ 15% มีความเหมาะสมที่จะฝึกเพื่อพัฒนาความเร็ว

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study was to study acute effects during pneumatic resistance training using different intensity on peak power, force and velocity. Thirteen male (age 18-25 years old) from Chulalongkorn University were purposively sampled for this study. All subjects underwent six treatments (15% 30% 45% 60% 75% and 90% 1RM) in varying order within six weeks. The obtained data were analyzed in terms of means and standard deviations, one-way analysis of variance with repeated measure and multiple comparison by the bonferroni. The statistical significance of this study was accepted at p<0.05 level. Results of the study showed us that 1. The peak power of muscles would be the most effective of all by doing squats at the load 15%. These also showed that it is more effective than doing 60, 75 and 90% (p<0.05). 2.The peak force of muscles would be the most effective of all by doing squats at the load 90%. These also showed that it is more effective than doing 15, 30 and 45% (p<0.05) 3. The peak velocity of muscles would be the most effective of all by doing squats at the load 15%. These also showed that it is more higher speed than doing 30, 45, 60, 75 and 90% (p<0.05) In conclusion, this practice with pneumatic training at the load of 15%, is suitable for the peak power training. The load at 90% is also suitable for peak force training and finally, the load at 15%, is suitable for the peak velocity training.

Share

COinS