Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลฉับพลันของการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายต่อพลังกล้ามเนื้อขาในขณะกล้ามเนื้อหดตัวแบบอยู่กับที่และเคลื่อนที่
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
ACUTE EFFECTS OF WHOLE-BODY VIBRATION ON LEG MUSCULAR POWER DURING STATIC AND DYNAMIC CONTRACTIONS
Year (A.D.)
2013
Document Type
Thesis
First Advisor
ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์
Faculty/College
Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การกีฬา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2013.1032
Abstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับผลันของการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายต่อพลังกล้ามเนื้อขาในขณะกล้ามเนื้อหดตัวแบบอยู่กับที่และเคลื่อนที่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา เพศหญิง อายุ 18-22 ปี จำนวน 16 คนความแข็งแรงสัมพัทธ์ 1.5-2.0 ใช้การถ่วงดุลลำดับ (counterbalancing) ด้วยการเลือกแบบสุ่ม โดยทำการสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย 4 แบบ สัปดาห์ละ 1 แบบ การสั่นสะเทือนทั้งร่างกายแบบที่1 ใช้ท่า Static half squat ทำการสั่นสะเทือนเป็นเวลา 45 วินาที ด้วยความถี่ 40 เฮิรตซ์ แอมพลิจูด 2-4 มิลิเมตร, แบบที่2 ใช้ท่า Static half squat ทำการสั่นสะเทือน เป็นเวลา 45 วินาที ด้วยความถี่ 50 เฮิรตซ์ แอมพลิจูด 4-6 มิลิเมตร, แบบที่3 ใช้ท่า Dynamic half squat ทำการสั่นสะเทือนเป็นเวลา 45 วินาที ด้วยความถี่ 40 เฮิรตซ์ แอมพลิจูด 2-4 มิลิเมตร, แบบที่4 ใช้ท่า Dynamic half squat ทำการสั่นสะเทือนเป็นเวลา 45 วินาที ด้วยความถี่ 50 เฮิรตซ์ แอมพลิจูด 4-6 มิลิเมตร โดยในช่วงของการทดสอบจะทำการทดสอบทั้งหมด 2 ครั้ง คือก่อนและหลังการสั่นโดยค่าที่ได้จากการกระโดดด้วยความสามารถสูงสุด 1 ครั้ง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำเปรียบเทียบ 4 แบบ โดยถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีการของแอลเอสดีและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการทดลองโดยการทดสอบค่าที (t-test) แบบไม่เป็นอิสระต่อกันโดยทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 จากการทดลองพบว่า พลังกล้ามเนื้อสูงสุดภายหลังการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายในแบบที่1 นั้นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 ทั้งนี้แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งจากพื้นสูงสุดภายหลังการสั่นสะเทือนทั้งร่างกาย ในแบบที่ 3 และความเร็วสูงสุดของบาร์เบลในแบบที่1และแบบที่4 เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 แต่เมื่อนำค่าพลังกล้ามเนื้อสูงสุด แรงปฏิกิริยาในแนวดิ่งจากพื้นสูงสุดและความเร็วสูงสุดของบาร์เบลทั้งก่อนและหลังการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายทั้ง 4 แบบมาเปรียบเทียบกันแล้วพบว่า ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this study was to investigate the acute effect of Wholebodyvibration on leg muscular power during static and dynamic contractions.Sixteen female undergraduate students, 18-22 years old, relative strength 1.5-2.0from Faculty of Sport Science, Chulalongkorn University performed four Wholebodyvibration treatment in a counter-balance order. Treatment 1: Performingstatic half squat during 45 sec of vibration session, the frequency was 40 Hz, theamplitude was 2-4 mm, Treatment 2: Performing static half squat during 45 sec ofvibration session, the frequency was 50 Hz ,the amplitude was 4-6 mm, Treatment3: Performing dynamic half squat during 45 sec of vibration session, the frequencywas 40 Hz, the amplitude was 2-4 mm and Treatment 4: Performing dynamic halfsquat during 45 sec of vibration session, the frequency was 50 Hz ,the amplitudewas 4-6 mm within four weeks. The data of leg muscular power were assessedpre and post vibration. The obtained of data were analyzed in term of One-Wayanalysis of Variance with repeated measure between 4 vibration treatment(multiple comparison by LSD) and compare between before and after vibrationwith Paired-Sample t-test to also employed for statistical significant (p<0.05)The research result indicated that the acute effect of treatment 1significantly increase peak power comparing to before and after vibration data atthe 0.05 level. Moreover, the acute effect of treatment 3 significantly increase inpeak vertical ground reaction force and the acute effect of treatment 1 and 4significantly increase in peak bar velocity. However, there were no significantdifferences between four Whole-body vibration treatment .
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ศิลปบรรเลง, สุภัทรา, "ผลฉับพลันของการสั่นสะเทือนทั้งร่างกายต่อพลังกล้ามเนื้อขาในขณะกล้ามเนื้อหดตัวแบบอยู่กับที่และเคลื่อนที่" (2013). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 34483.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/34483