Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การนำเสนอรูปแบบการฝึกที่ผสมผสานทักษะ ความเร็ว ความแข็งแรง และความอดทนเพื่อพัฒนาความสามารถในการวิ่ง 100 เมตรของนักวิ่งชาย อายุ 14-16 ปี
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
A PROPOSED TRAINNING MODEL COMBINING SKILL , SPEED , STRENGTH , AND ENDURANCE TO DEVELOP THE 100-METER SPRINT PERFORMANCE OF MALE SPRINTERS AGES OF 14-16 YEARS
Year (A.D.)
2013
Document Type
Thesis
First Advisor
ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์
Second Advisor
ศิลปชัย สุวรรณธาดา
Faculty/College
Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)
Degree Name
วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การกีฬา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2013.982
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษารูปแบบ และศึกษาผลของการใช้รูปแบบการฝึกที่ผสมผสานทักษะความเร็ว ความแข็งแรง และความอดทน เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิ่ง 100 เมตรของนักวิ่งชาย อายุ 14-16 ปี โดยมี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 กระบวนการพัฒนาและสร้างรูปแบบการฝึกเพื่อนำไปสู่รูปแบบการฝึกที่ผสมผสานทักษะความเร็ว ความแข็งแรง และความอดทน เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิ่ง 100 เมตร โดยการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาผลของการใช้รูปแบบ การฝึกที่ผสมผสานทักษะความเร็ว ความแข็งแรง และความอดทน เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิ่ง 100 เมตรของนักวิ่งชาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักวิ่งชาย 100 เมตรอายุ 14-16 ปีโรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร จำนวน 46 คน ด้วยการเลือกอย่างเฉพาะเจาะจง แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นสองกลุ่มๆละ 23 คนโดยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองใช้รูปแบบการฝึกที่ผสมผสานทักษะ ความเร็ว ความแข็งแรง และความอดทนเพื่อพัฒนา ความสามารถในการวิ่ง 100 เมตรและกลุ่มควบคุม ที่ใช้รูปแบบการฝึกปกติของทางโรงเรียนกีฬากรุงเทพมหานคร มีการวัดองค์ประกอบความสามารถในการวิ่ง 100 เมตร ดังนี้ เวลาในการวิ่ง 10 เมตร 40 เมตรและ 100 เมตร ความแข็งแรงกล้ามเนื้อส่วนบน ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา พลังระเบิดกล้ามเนื้อขา พลังอดทนกล้ามเนื้อขา และความอดทนแบบแอแอโรบิก ก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ของทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบว่าหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ เวลาในการวิ่ง 10เมตร 40 เมตรและ100 เมตรความแข็งแรงกล้ามเนื้อส่วนบน ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา พลังระเบิดกล้ามเนื้อขา พลังอดทนกล้ามเนื้อขา และความอดทนแบบแอแอโรบิก ของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างภายในแต่ละกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ พบว่า กลุ่มทดลอง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกองค์ประกอบของความสามารถในการวิ่ง 100 เมตร ในขณะที่กลุ่มควบคุม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ของเวลาในการวิ่ง 40 เมตรเพียงอย่างเดียวหลังการทดลอง 12 สัปดาห์ เวลาในการวิ่ง 10เมตร40เมตรและ100 เมตรความแข็งแรงกล้ามเนื้อส่วนบน ความแข็งแรงกล้ามเนื้อขา พลังระเบิดกล้ามเนื้อขา พลังอดทนกล้ามเนื้อขา และความอดทนแบบแอแอโรบิก ของกลุ่มทดลองดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยการใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม อีกทั้งเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างภายในแต่ละกลุ่มด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ พบว่า กลุ่มทดลอง มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกองค์ประกอบของความสามารถในการวิ่ง 100 เมตรในขณะที่กลุ่มควบคุม มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ของเวลาในการวิ่ง 10 เมตร 40 เมตรและ 100 เมตร และ พลังระเบิดกล้ามเนื้อขา ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการฝึกที่ผสมผสานทักษะความเร็ว ความแข็งแรง และความอดทน เพื่อพัฒนาความสามารถในการวิ่ง 100 เมตรของนักวิ่งชาย นั้นสามารถพัฒนาได้ หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ ในทุกองค์ประกอบของความสามารถในการวิ่ง 100 เมตร อายุ 14-16 ปี ซึ่งรูปแบบการฝึกนี้เป็นรูปแบบของระยะเวลาการฝึกสั้นที่สามารถเห็นผลการพัฒนาดีกว่าการฝึกวิ่งปกติ เพียงอย่างเดียว อีกทั้งเหมาะสมกับนักวิ่งชายที่มีอายุ14-16 ปีและไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตและการบาดเจ็บ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The aim of this study was to study a training model and the effects of combining skill, speed, strength, and endurance training program for developing the 100 – meter sprint performance of male sprinters ages of 14 – 16 years. Study was divided into two parts, part 1: development process and training program creation for combining skill, speed, strength, and endurance training program for developing the 100 – meter sprint performance training program application, created training program was proven by specialists and experts. Part 2: study the effects of combining skill, speed, strength, and endurance training program for developing the 100 – meter sprint performance of male sprinters. Subjects were 46 adolescent male sprinters aged 14 – 16 years of Bangkok Sports School, and subjects were purposive selected. Subjects were equally divided into two groups by simple random sampling; experimental group (n = 23) was submitted to a combined skill, speed, strength, and endurance training program for developing the 100 – meter sprint performance and control group (n = 23), which performed only school’s regular sprint training program. Subjects’ 100 – meter sprint performance was measured by running speed time at 10, 40 and 100 meter distance. Subjects were also measured for upper and lower-body maximum strength, leg muscle power, leg muscle endurance, and anaerobic endurance capacity. All subjects were tested before study, after 6 weeks, and after 12 weeks of study. After 6 weeks of study, One-way ANOVA with-repeated measures revealed that experimental group improved significantly in all measured sprint performance (10, 40 and 100 meter), upper and lower-body maximum strength, leg muscle power, leg muscle endurance and anaerobic endurance greater than control group (p < 0.05). Experimental group showed significantly improvement in all variables (p < 0.05), while control group improved significantly only in 40-meter sprint performance. After 12 weeks of study, One-way ANOVA with-repeated measures showed that experimental group improved significantly in all measured sprint performance (10, 40 and 100 meter), upper and lower-body maximum strength, leg muscle power, leg muscle endurance and anaerobic endurance greater than control group (p < 0.05). Experimental group showed significantly improvement in all variables (p < 0.05), whereas control group did improve significantly in 10, 40 and 100-meter sprint performance and leg muscle power. In conclusion, a short-term combined skill, speed, strength, and endurance training program for developing 100-meter sprint performance of male sprinters ages 14-16 years offered positive benefits after 6 weeks in all 100-meter sprint performance variables and yielded superior results than regular sprint training alone. This proposed training program was suitable and safe for adolescent male sprinters ages 14-16 years.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
หนูพยันต์, พีระพงศ์, "การนำเสนอรูปแบบการฝึกที่ผสมผสานทักษะ ความเร็ว ความแข็งแรง และความอดทนเพื่อพัฒนาความสามารถในการวิ่ง 100 เมตรของนักวิ่งชาย อายุ 14-16 ปี" (2013). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 34433.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/34433