Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การจัดการธุรกิจนำเที่ยวเมืองพัทยา
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Tourism business management in Pattaya city
Year (A.D.)
2012
Document Type
Thesis
First Advisor
สมบัติ กาญจนกิจ
Faculty/College
Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การกีฬา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2012.1038
Abstract
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการจัดการธุรกิจนำเที่ยวของผู้ประกอบการเมือพัทยา และเพื่อเปรียบเทียบการจัดการระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวเมืองพัทยาประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวในเมืองพัทยาจำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และได้มีการตรวจสอบเครื่องมือ โดยนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test)ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการการจัดการธุรกิจนำเที่ยวเมืองพัทยาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากในทุกด้าน(ค่าเฉลี่ย = 4.02) ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ(ค่าเฉลี่ย = 4.13) ด้านการวางแผน(ค่าเฉลี่ย = 4.12) ด้านการจัดองค์กร(ค่าเฉลี่ย = 3.95) และด้านการควบคุม (ค่าเฉลี่ย = 3.86) 2. ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยวมีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบต่อธุรกิจนำเที่ยวเมืองพัทยาโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากในทุกด้าน(ค่าเฉลี่ย = 3.88) ได้แก่ ด้านคู่แข่งขัน(ค่าเฉลี่ย = 4.16) ด้านสังคม(ค่าเฉลี่ย = 3.94) ด้านสิ่งแวดล้อม / ภัยพิบัติ(ค่าเฉลี่ย = 3.91) ด้านการเมืองและกฎหมาย(ค่าเฉลี่ย = 3.90) ด้านเทคโนโลยี(ค่าเฉลี่ย = 3.78) และด้านเศรษฐกิจ(ค่าเฉลี่ย = 3.61) 3. เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของกระบวนการการจัดการธุรกิจนำเที่ยวโดยภาพรวม พบว่าผู้ประกอบการประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ไม่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าในด้านการวางแผน และด้านการจัดองค์กร มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของผลกระทบโดยภาพรวมต่อธุรกิจนำเที่ยวเมืองพัทยา พบว่าผู้ประกอบการประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล ไม่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าในด้านการเมืองและกฎหมาย ด้านสังคม และด้านเทคโนโลยีมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Results indicated that : 1. Tourism business companies had their opinions in overall tourism business at the high level (mean = 4.02) with respective process sectors: Leading (mean = 4.13), planning (mean = 4.12), organizing (mean = 3.95), and controlling (mean = 3.86). 2. Tourism business companies had their opinions concerning impact on tourism business in Pattaya city overall in the high level (mean = 3.88) with respectively impact on competiveness (mean = 4.16), social (mean = 3.94), environment/risk and hazard (mean = 3.91), politics and regulation (mean = 3.90, technology(mean = 3.78), and economic(mean = 3.61). 3. When comparing on tourism business process between Natural person and Juristic person company, there were no statistically significant difference at .05 level, however, the planning and the organizing process were statistical significant difference at .05 level. 4. When comparing on tourism business between company with Natural person and Juristic person, there were no statistically significant difference at .05 level, except, politics and regulations impact, social impact and technology impact.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
โคตรภัทร, พุทธพร, "การจัดการธุรกิจนำเที่ยวเมืองพัทยา" (2012). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 34400.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/34400