Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกในน้ำ ที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไว ในนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับมหาวิทยาลัย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of aquatic plyometric training on leg muscular power and agility in male university basketball players
Year (A.D.)
2012
Document Type
Thesis
First Advisor
ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์
Faculty/College
Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การกีฬา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2012.1028
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกพลัยโอเมตริกในน้ำ ที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไว ในนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาบาสเกตบอล คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 24 คนโดยเข้ากลุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน คือ กลุ่มฝึกพลัยโอเมตริกในน้ำ และกลุ่มควบคุม กลุ่มที่ฝึกพลัยโอเมตริกในน้ำจะทำการฝึกพลัยโอเมตริก ครั้งละประมาณ 50 นาที 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุม ใช้ชีวิตตามปกติ มี การเล่นบาสเกตบอล ทำการทดสอบพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไว ทั้งก่อนการทดลองและหลังการทดลอง 6 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ผลของการทดสอบทุกรายการภายในกลุ่ม โดยการทดสอบค่าที ภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และวิเคราะห์ผลของการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยค่าที ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการวิจัย พบว่า หลังการทดลอง 6 สัปดาห์ พลังกล้ามเนื้อขา และความคล่องแคล่วว่องไว ของกลุ่มทดลอง มากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพลังกล้ามเนื้อขา และความคล่องแคล่วว่องไวของกลุ่มทดลอง มากกว่า กลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การฝึกพลัยโอเมตริกในน้ำ สามารถพัฒนาพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไวได้ ซึ่งการฝึกพลัยโอเมตริกในน้ำ ยังสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บในรยางค์ส่วนล่างได้
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this study was to study the effects of aquatic plyometric on leg muscular power and agility in male university basketball players. This study consisted of 24 male basketball players from Sports Science, Chulalongkorn University aged between 18 – 24 years. They were simple random sampling into 2 groups with 12 subjects in each group. The subjects were assigned to the following groups : aquatic plyometric group and control group. Aquatic plyometric group worked out two times per week, 50 minutes a day and for 6 weeks. The control group engaged in routinely physical activity. The collected data were leg muscular power and agility. Then, the obtained data from pre and post training were compared and analyzed by mean, standard deviation, paired samples t-test and independent t-test. After 6 weeks of the experiment, the leg muscular power and agility of the experimental group were improved significantly better than before training at the .05 level and the leg muscular power and agility of the experimental group were significantly better than the control group at the .05 level. Conclusion : Aquatic plyometric can develop leg muscular power and agility which can help reduce the risk of injury in the lower limb
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อัคคะสาระกุล, ปราชญ์, "ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกในน้ำ ที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาและความคล่องแคล่วว่องไว ในนักกีฬาบาสเกตบอลชายระดับมหาวิทยาลัย" (2012). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 34390.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/34390