Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการพัฒนาโปรแกรมกการฝึกที่มีต่อจุดเริ่มล้าในนักกีฬาเทนนิสชาย
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The effect of training program development on anaerobic threshold in male tennis athletes
Year (A.D.)
2011
Document Type
Thesis
First Advisor
เฉลิม ชัยวัชราภรณ์
Faculty/College
Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์การกีฬา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2011.1315
Abstract
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาโปรแกรมการฝึกที่มีต่อจุดเริ่มล้าด้วยการเปรียบเทียบผลก่อนและหลังเข้ารับการฝึก โดยใช้โปรแกรมการฝึกจุดเริ่มล้าในนักกีฬาเทนนิสชาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬาเทนนิสชายในระดับมหาวิทยาลัย จาก มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 12 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยนักกีฬาเทนนิสต้องมีประสบการณ์ในการเล่น ไม่ต่ำกว่า 5 ปี กลุ่มตัวอย่างทุกคนเข้ารับการฝึกแบบหนักสลับเบาแบ่งเป็น 2 ระยะ แต่ละระยะของโปรแกรมใช้เวลาทั้งสิ้น 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน ทำการทดสอบจุดเริ่มล้าด้วยการวิเคราะห์การแลกเปลี่ยนก๊าซแบบวิธีวีสโลป ทดสอบก่อนและหลังเข้ารับการฝึกเป็นเวลา 6 สัปดาห์ จุดเริ่มล้าแสดงค่าเป็นอัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้า และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนที่จุดเริ่มล้า นำผลที่ได้มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปอร์เซ็นต์ และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่า “ที" ผลการวิจัยพบว่า อัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้ามีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 16.09% สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนที่จุดเริ่มล้ามีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 102.01% สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุดมีค่าเฉลี่ยสูงขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 69.80% สรุปได้ว่าโปรแกรมการฝึกจุดเริ่มล้าสามารถเพิ่มระดับจุดเริ่มล้าในนักกีฬาเทนนิสชาย
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to study the effect of training program development on anaerobic threshold (AnT) by comparing result before and after training in tennis athletes. The subjects were 12 male tennis athletes who had at least 5 years playing tennis experiences from Burapha University They were sampled by purposive random sampling. All subjects were trained with AnT training program. The AnT training program was interval exercise training and divided into 2 phases which performed 2 times a week for 3 weeks.The AnT was assessed by gas exchange analysis which based on V-slope method. The AnT showed results as heart rate and oxygen consumption at the AnT. The analyzed in term of means, standard deviation, percentage and t-test was used to determine the significant differences. Research results indicated that the heart rate at the AnT was significant difference increased at the .05 level | there were increased 16.09 %. The oxygen consumption at the AnT was significant difference increase at the .05 level. there were increased 102.01%. The maximal oxygen at the Ant was significant difference increase at the .05 level, there were increased 69.80 %. Conclusion the AnT training program can increase the AnT in male tennis athletes.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
วีระศิริวัฒน์, ธัชนิติ, "ผลของการพัฒนาโปรแกรมกการฝึกที่มีต่อจุดเริ่มล้าในนักกีฬาเทนนิสชาย" (2011). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 34357.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/34357