Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผลฉับพลันของการยืดเหยียดกล้ามเนื้อร่วมกับการนวดกระตุ้นที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อในนักวิ่งระยะสั้น

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The acute effect of combined dynamic stretching and stimulation massage on muscular power in sprinters

Year (A.D.)

2011

Document Type

Thesis

First Advisor

ชนินทร์ชัย อินทิราภรณ์

Faculty/College

Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์การกีฬา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2011.1299

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลฉับพลันของพลังกล้ามเนื้อก่อนการทดลองและหลังการทดลอง ของการยืดเหยียดต่อเนื่องร่วมกับการนวดกระตุ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักวิ่งระยะสั้นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชาย อายุระหว่าง 18 – 26 ปี จำนวน 12 คนโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากนั้นทำการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน โดยวิธีการจับสลากเข้ากลุ่ม โดยแต่ละกลุ่มจะทำการทดลอง 4 รูปแบบ สัปดาห์ละ 1 รูปแบบ โดยแบ่งเป็น รูปแบบที่ 1 ทำการวิ่งเหยาะๆร่วมกับยืดเหยียดอยู่กับที่ รูปแบบที่ 2 ทำการวิ่งเหยาะๆ ยืดเหยียดอยู่กับที่ และยืดเหยียดต่อเนื่อง รูปแบบที่ 3 ทำการวิ่งเหยาะๆร่วมกับยืดเหยียดอยู่กับที่ และนวดกระตุ้นและรูปแบบที่ 4 ทำการวิ่งเหยาะๆร่วมกับยืดเหยียดอยู่กับที่ ยืดเหยียดต่อเนื่องและนวดกระตุ้น โดยแต่ละกลุ่มการทดลองจะสลับหมุนเวียนรูปแบบ การทดลองไปจนครบ ทั้ง 4 รูปแบบ ในระยะเวลาทั้งสิ้น 4 สัปดาห์ ในส่วนของการทดสอบนั้น จะทำการทดสอบทั้งหมด 2 ครั้ง คือก่อนและหลังการทดลอง โดยค่าที่ได้จากการเก็บข้อมูลจากการกระโดดด้วยความสามารถสูงสุด 1 ครั้ง นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ผลทางสถิติ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ (One – way analysis of variance with repeated measure) ในแต่ละรูปแบบ โดยถ้าพบความแตกต่างจึงเปรียบเทียบเป็นรายคู่โดยวิธีการของแอลเอสดี และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม โดยการวิเคราะห์ค่าการแปรปรวนแบบสองทางชนิดวัดซ้ำ (Two way anova with repeated measure) โดยรวมผลก่อนการทดลอง และหลังการทดลองทั้ง 4 รูปแบบ เข้าไว้ด้วยกัน ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า หลังจากการทดลองทั้ง 4 รูปแบบ พบว่า ผลฉับพลันของพลังกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นก่อนและหลังการทดลองในแต่ละรูปแบบนั้น แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงในรูปแบบการทดลองที่ 4 ก็มีเปอร์เซ็นต์เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อนำผลการทดลองทั้ง 4 รูปแบบมาเปรียบเทียบกันแล้ว พบว่า ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ผลฉับพลันของการยืดเหยียดต่อเนื่องร่วมกับการนวดกระตุ้นที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้ สามารถที่จะนำไปประยุกต์ใช้ได้จริง ในการเพิ่มพลังกล้ามเนื้อ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The purpose of this study was to study the acute effect of combined dynamic stretching and stimulating massage between pre and post exercise on muscular power. Twelve male sprinters (age 18 – 26 years old) from Chulalongkorn University were purposively sampled for this study and were further divided into four groups (3 subjects per group) by simple random sampling. All subjects underwent four intervention protocols which consisted of jogging, static stretching, dynamic stretching, and stimulation massage in a varying order within four weeks. The data of leg muscular power were assessed pre and post interventions. The obtained data were analyzed in terms of One-Way Analysis of Variance with repeated measure (multiple comparison by the LSD) and compare treatment with Two - way ANOVA with repeated measure (Multiple comparison by the tukey a) was also employed for statistical significant (p<.05). The results were as follow: The research results after four treatments indicated that the acute effect of the four treatments significantly increased power comparing to before and after treatment and pre-experimental data at the .05 level. There were no significant differences among four treatments after four weeks of experiment at the .05 level. In conclusion, the acute effect of combined dynamic stretching and stimulation massage in this study truly improved the acute effects on muscular power in sprinters.

Share

COinS