Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แนวทางการจัดการการท่องเที่ยวพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Guideline of tourism management for the surrounding area of Khao Yai National Park

Year (A.D.)

2010

Document Type

Thesis

First Advisor

สมบัติ กาญจนกิจ

Faculty/College

Faculty of Sports Science (คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา)

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

วิทยาศาสตร์การกีฬา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2010.1349

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาความต้องการของนักท่องเที่ยวต่อองค์ประกอบการท่องเที่ยวพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ และเพื่อเปรียบเทียบความต้องการต่อองค์ประกอบการท่องเที่ยว จำแนกตามเพศ รายได้ และอาชีพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางไปพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ จำนวน 400 คน และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทางสถิติ เพื่อหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว อีกทั้งสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางการจัดการการท่องเที่ยว จำนวน 10 คน นำข้อมูลมาแยกเป็นกลุ่มตามหัวข้อ ผลการวิจัยพบว่า นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นความต้องการต่อองค์ประกอบการท่องเที่ยวในระดับมากทุกข้อ ได้แก่ แหล่งท่องเที่ยวและสิ่งดึงดูดใจ (X̅ = 4.09) ที่พัก (X̅ = 3.95) อาหารและเครื่องดื่ม(X̅ = 3.90) ธุรกิจท่องเที่ยว (X̅ = 3.90) ประเภทของแหล่งท่องเที่ยว (X̅ = 3.79) คมนาคมขนส่ง (X̅ = 3.80) ด้านสินค้าของที่ระลึก (X̅ = 3.72) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความต้องการต่อองค์ประกอบการท่องเที่ยวจำแนกตามเพศ รายได้ และอาชีพของนักท่องเที่ยว พบว่า เพศชายและเพศหญิง มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ตอบแบบสอบถามที่มีรายได้และอาชีพที่ต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จากการสัมภาษณ์ พบว่าควรมีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เสื่อมโทรมให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ สร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชน จัดการการรองรับนักท่องเที่ยวของแหล่งท่องเที่ยว จัดการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เป็นต้น แนวทางการจัดการพื้นที่โดยรอบอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ มีดังนี้ 1.พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยเพิ่มคุณค่าเชิงเศรษฐกิจ 2.ฟื้นฟูพื้นที่เสื่อมโทรมเป็นสวนสาธารณะ 3.สร้างความร่วมมือระหว่างองค์กร 4.พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกขั้นพื้นฐาน 5.สร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชน 6.ส่งเสริมเส้นทางรถไฟ 7.สร้างพิพิธภัณฑ์และศูนย์การเรียนรู้ฐานเขาใหญ่

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

This research was to study tourist’s demand of tourism elements in the surrounding area of Khao Yai National Park and compare the differences in demand of gender, income and occupation to Tourism Element. Sample was 400 tourists in the surrounding area of Khao Yai National Park. The data collected from the survey was analyzed by computer program to find frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, f-test by ANOVA one-way analysis. Also, group the data from interviewing of 10 stakeholder people. The studied found tourists opinion all in high demand of tourism elements. 1.tourist attraction (X̅ = 4.09), 2.accommodation (X̅ = 3.95), 3.food and beverage (X̅ = 3.90), 4.tourism service (X̅ = 3.90), 5.type of attraction (X̅ = 3.79), 6.transportation (X̅ = 3.80), 7.souvenir (X̅ = 3.72). Comparison of 3 different elements, gender, income, occupation resulted in no significant different at .05 in gender, while income and occupation were significantly different at .05. In-depth interview found that improving decadent attractions into recreation area, educating local people, physical environment control and basic facility are must. Management guidelines results as follow: 1.improve current attractions 2.develop park for community 3.form cooperation among stakeholder 4.improve basic facilities 5.educate local people. 6.promote and develop railways transportations 7.provide museum and education center.0

Share

COinS