Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Empowering deans of faculty of education

Year (A.D.)

2008

Document Type

Thesis

First Advisor

พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์

Second Advisor

ไพฑูรย์ สินลารัตน์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

อุดมศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2008.223

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยสร้างปัจจัยเสริมของการเสริมสร้างพลังอำนาจ 2) เพื่อศึกษาการเสริมสร้างพลังอำนาจของคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเอกสารเพื่อศึกษาหลักการ ปัจจัยสร้างปัจจัยเสริมของการเสริมสร้างพลังอำนาจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และการจำแนกประเภทของข้อมูล และใช้วิธีการวิจัยเชิงตรวจสอบเพื่อพัฒนารูปแบบกับกลุ่มตัวอย่างผู้ที่ดำรงตำแหน่งคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ จำนวน 24 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ dependent sample t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ปัจจัยสร้างและปัจจัยเสริมของการเสริมสร้างพลังอำนาจ คือการสร้างสัมพันธภาพที่ดีของบุคลากร การมีส่วนร่วมในการกำหนดเป้าหมาย การวางแผน และการบริหารจัดการ มีการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ มีระบบการให้ข้อมูลย้อนกลับที่ดี 2. สภาพการเสริมสร้างพลังอำนาจของคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ระดับ บุคคล ระดับทีมงาน และระดับองค์การ อยู่ในระดับปานกลาง และมีคุณลักษณะแยกรายด้านแตกต่างจากคุณลักษณะที่เป็นส่วนตัวของคณบดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 9 รายด้าน 3. รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์เป็นกระบวนการเสริมสร้างคุณลักษณะรายด้านจำนวน 9 รายด้าน มีกิจกรรมรู้จักเข้าใจตนเอง กิจกรรมสะท้อนคิด และการประชุมเพื่อระดมความคิด ข้อเสนอแนะ รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจที่ได้สร้างและพัฒนาขึ้นนี้สำหรับนำไปใช้ในการพัฒนาศักยภาพให้กับคณบดีคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objectives of this survey research are: 1) to investigate the factors contributing to empowerment; 2) to study the Education Faculty Deans’ empowerment; and 3) to develop a model to empower the Education Faculty Deans. To study the principles and factors of empowerment, a document survey was conducted. The data were analyzed by content analysis and typological analysis. To develop the empowerment model, 24 Deans of Faculty of Education completed an evaluation form, and this was quantitatively analyzed. Mean scores and standard deviations were calculated, and dependent sample t-tests were run to determine significant differences. Research findings were as follows: 1.The empowerment of the Education Faculty Deans at the individual, team, and organizational levels was moderate. Nine specific characteristics were identified to be different from the inherent characteristics of the Deans at the 0.01 significance level. 2.Factors contributing to the empowerment included: establishing good rapport with personnel, participating in goal setting, planning, and managing as well as communicating effectively and providing constructive feedback. 3.The model indicated that empowering the Deans of the Education Faculty was a process to develop the nine characteristics. The activities used to develop these characteristics were: self awareness, reflection, and brainstorming. Implications This model for empowering Deans of Faculty of Education can be used to develop the capacity of present and future deans.

Share

COinS