Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเปรียบเทียบวิธีการประมาณช่วงความเชื่อมั่นสำหรับขนาดอิทธิพลมาตรฐานของตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันและไม่เป็นอิสระต่อกัน : การแจกแจงแลมดาของตูกี

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A comparison of approximate confidence interval methods for standardized effect sizes in two-independent and two-dependent samples : tukey's lamda distribution

Year (A.D.)

2008

Document Type

Thesis

First Advisor

สุชาดา บวรกิติวงศ์

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Degree Name

ครุศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

สถิติการศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2008.215

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาวิธีในการประมาณค่าช่วงความเชื่อมั่น ที่ให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำที่สุด ในการประมาณช่วงความเชื่อมั่นสำหรับขนาดอิทธิพลมาตรฐานของตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกันและไม่เป็นอิสระต่อกันของข้อมูลที่มีการแจกแจงแลมดาของตูกี ที่ระดับความเบ้แตกต่างกัน 5 ระดับ ได้แก่ 0.25, 0.5, 1.0, 1.5 และ 2.0 ระดับความโด่ง ได้แก่ 2, 4, 6, 8,10,12 และ 14 ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่กำหนดเท่ากับ 0.90, 0.95 และ 0.99 และกำหนดขนาดตัวอย่างเท่ากับ 2, 4, 6, 8, 12, 16, 24, 28, 32, 48, 56, 64, 96, 112 และ128 ข้อมูลในการวิจัยได้จากการจำลองข้อมูลด้วยเทคนิคมอนติ คาร์โล ซิมูเลชั่น (Monte Carlo Simulation Method) จากโปรแกรม MATLAB โดยแต่ละกรณีจะทำการทดลองซ้ำ 3,000 ครั้ง ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1. กรณีตัวอย่างสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน วิธี gH และ วิธี dH ให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นสั้นที่สุด ทุกสถานการณ์ของความเบ้และความโด่ง ซึ่งทั้งสองวิธีนี้จะให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นเท่ากัน 2. กรณีตัวอย่างสองกลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน วิธี dU ให้ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นสั้นที่สุด เมื่อความเบ้เท่ากับ 2 ความโด่งเท่ากับ 10 3. เมื่อ เพิ่มขึ้น ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นจะลดลง 4. ขนาดกลุ่มตัวอย่างจะมีผลต่อความยาวของช่วงความเชื่อมั่น ซึ่งพบว่า เมื่อกลุ่มตัวอย่างมี ขนาดใหญ่ขึ้นวิธีการประมาณช่วงความเชื่อมั่น 9 วิธี ได้แก่ วิธี dB, gU, dU, gL1, dL1, gL2,dL2, gH และ dH จะมีค่าความยาวเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นลดลง ยกเว้นวิธี gB ที่ค่าความยาวเฉลี่ยของช่วง ความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นเมื่อกลุ่มตัวอย่างมีขนาดใหญ่ขึ้น

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objective of this research were find out an approximate confidence interval methods that make have a least confidence interval. The approximate confidence interval methods for standardized effect size in two-dependent and two-independent samples: tukey’s lamda distribution for 5 difference skewness (0.25, 0.5, 1.0, 1.5 and 2.0), kurtosis (2, 4 ,6 ,8 ,10, 12 and 14), confidence coefficient (0.90, 0.95 and 0.99) and sample size (2, 4, 6, 8, 12, 16, 24, 28, 32, 48, 56, 64, 96, 112 and 128). For each statistics under experimental situation, the Monte Carlo experiment was repeated 3,000 times. The findings were summarized as follows. 1. Case two-independent samples the gH and dH methods have a least confidence interval in all of situations and be equal length. 2. Case two-dependent samples the dU method have a least confidence interval when skewness = 2, kurtosis=10. 3. When increase a length confidence interval will decrease. 4 .When sample sizes are large the dB, gU, dU, gL1, dL1, gL2, dL2, gH and dH method in a confidence interval have a length were decrease except gB method have a length were increased when sample sizes is large.

Share

COinS