Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการตั้งปัญหา ที่มีต่อความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดสุรินทร์
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of using problem posing in organizing learning activity on mathematics problem solving ability and creative thinking of eleventh grade students in Surin province
Year (A.D.)
2005
Document Type
Thesis
First Advisor
สุวัฒนา เอี่ยมอรพรรณ
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การศึกษาคณิตศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2005.37
Abstract
ศึกษา 1. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เทียบกับเกณฑ์ 50% ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการตั้งปัญหา 2. เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้เทคนิคการตั้งปัญหากับกลุ่มเรียนแบบปกติ 3. เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้เทคนิคการตั้งปัญหากลับกลุ่มเรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 82 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 41 คน โดยนักเรียนกลุ่มทดลองเรียนโดยใช้เทคนิคการตั้งปัญหา และนักเรียนกลุ่มควบคุมเรียนแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่ามัชฌิมเลขคณิตร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการตั้งปัญหา มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้คือ สูงกว่า 50% ของคะแนนสอบทั้งฉบับ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการตั้งปัญหามีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้เทคนิคการตั้งปัญหา มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ ไม่แตกต่างจากนักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
To 1. Study mathematics problem solving ability of eleventh grade students learning through problem posing technique; 2. Compare mathematics problem solving ability of eleventh grade students learning through problem posing technique to that of secondary school students learning through conventional method; 3. Compare mathematics creative thinking of secondary school students learning through problem posing technique to that of eleventh grade students learning through conventional method. The subjects were 82 of eleventh grade students of Chomphraprashasan School at Surin province in academic year 2005. There were 41 students in experimental group and the other 41 in controlled group. The experimental group learned through problem posing technique and the controlled group learned through conventional method. The research instruments were the mathematics problem solving ability test and the mathematics creative thinking test. The data were analyzed by means of arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation and t-test. The results of the research showed that 1. Mathematics problem solving ability of eleventh grade students learning through problem posing technique was higher than minimum criteria of 50%. 2. Mathematics problem solving ability of eleventh grade students learning through problem posing technique was higher than that of eleventh grade secondary school students learning through conventional method significant level .05. 3. mathematics creative thinking of eleventh grade students learning through problem posing technique was not different from that of eleventh grade students learning through conventional method significant level .05.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุขแสวง, สุริเยส, "ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการตั้งปัญหา ที่มีต่อความสามารถในการแก้ไขปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดสุรินทร์" (2005). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 33641.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/33641