Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชที่มีต่อมโนทัศน์และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดร้อยเอ็ด
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects using Lesh' translation model in organizing mathematics learning activities on mathematics concepts and creativity of eighth grade students in Roi-et province
Year (A.D.)
2005
Document Type
Thesis
First Advisor
อัมพร ม้าคนอง
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การศึกษาคณิตศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2005.33
Abstract
การวิจัยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลงของเลช 2. เพื่อศึกษาความคิดสร้างสรรค์ค์ทางคณิตศาสตร์ของนักรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลงของเลช 3. เพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชกับกลุ่มปกติ 4. เพื่อเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชกับกลุ่มปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนขวาววิทยาคาร จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 68 คน เป็นนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 34 คน โดยนักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชและนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์และแบบทดสอบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่ามัชฌิมเลขคณิตร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชมีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดโดยกรมวิชาการ คือ สูงกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนสอบทั้งฉบับ 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์เพิ่มขึ้นหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชมีมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชมีความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this research were: 1. to study mathematics concepts of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities using Leshs's translation model; 2. to study mathematics creativities of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activies using Lesh's translation model; 3. to compare mathematics concepts of eighth grade students between groups being taught by organizing mathematics learning activities using Lesh's translation model and by organizing mathematics learning activities using conventional approach; 4. to compare mathematics creativities of eighth grade students between groups being taught by organizing mathematics learning activities using Lesh's translation model and by organizing mathematics learning activities using conventional approach. The subjects were eighth grade students in academic year 2005 in Khao Withayakarn School, Roi-et Province. They were divided into two groups, one experimental group with 34 students and one controlled group with 34 students. Students in experimental group were taught by organizing mathematics learning activities using Lesh's translation model and those in control group were taught by organizing mathematics learning activities using conventional approach. The research instruments were the mathematics concept test and the mathematics creativity test. The data were analyzed by means of arithmetic mean, mean of percentage, standard deviation, and t test. The results of the study revealed that: 1. Mathematics concepts of eight grade students being taught by organizing mathematics learning activities using Lesh's translation model were higher than minimum criteria of 50 percent. 2. Mathematics creativities of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities using Lesh's translation model were higher than before using Lesh's translation model. 3. Mathematics concepts of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities using Lesh's translation model were higher than those of students being taught by organizing mathematics learning activities using conventional approach at .05 level of significance. 4. Mathematics creativities of eighth grade students being taught by organizing mathematics learning activities using Lesh's translation model were higher than those of students being taught by organizing mathematics learning activities using conventional approach at .05 level of significance.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ธงงาม, ธีรนาถ, "ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โมเดลการแปลงของเลชที่มีต่อมโนทัศน์และความคิดสร้างสรรค์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดร้อยเอ็ด" (2005). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 33637.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/33637