Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
ผลของการจัดกิจกรรมการแก้ปัญหาตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การศึกษานอกสถานที่เสมือน ที่มีต่อการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Effects of using virtual field trips in scientific problem solving activity management upon environment problem solving of lower secondary school students
Year (A.D.)
2005
Document Type
Thesis
First Advisor
กิดานันท์ มลิทอง
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
โสตทัศนศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2005.15
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมแก้ปัญหาตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใข้การศึกษานอกสถานที่เสมือน ที่มีต่อการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2548 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ กิจกรรมการแก้ปัญหาตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การศึกษานอกสถานที่เสมือน และ แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ ค่าที่ (t-test)ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการแก้ปัญหาตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้าการศึกษานอกสถานที่เสมือน เรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ มีความสามารถในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to study the effects of using virtual field trips in scientific problem solving activity management upon environment problem solving of lower secondary school students. The Samples of the study were forty-one students of Masthayom suksa two from Kasetsart University Demonstration School in second semester of 2005 academic year with scientific problem solving activity by using virtual field trip and environmental problem solving ability test . The collected data were analyzed by means, standard deviation and using t-test at. 05 level. The result of this reserch was that the students who learn scientific problem solving activity management by virtual field trips had higher environment problem solving scores than at .05 level of significance.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เชี่ยวจินดากานต์, บุษกร, "ผลของการจัดกิจกรรมการแก้ปัญหาตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยใช้การศึกษานอกสถานที่เสมือน ที่มีต่อการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น" (2005). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 33619.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/33619