Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสอนเกมสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The development of computer instructional model based on constructivist approach using game teaching learning management for the second key stage students according to Basic Education Curriculum B.E. 2544
Year (A.D.)
2004
Document Type
Thesis
First Advisor
สุกรี รอดโพธิ์ทอง
Faculty/College
Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)
Degree Name
ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
โสตทัศนศึกษา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2004.14
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสอนเกม สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านออกแบบการสอน ผู้เชี่ยวชาญด้านคอนสตรัคติวิลต์ ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนเกม ด้านละ 5 ท่าน รวม 20 ท่าน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบประเมินรูปแบบการเรียนการสอนและแบบรับรองรูปแบบการเรียนการสอนวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนการสอนประกอบด้วย 6 ขั้นตอนคือ ขั้นเตรียมกิจกรรมการเรียนการสอน ขั้นทำกิจกรรมดึงความคิด ขั้นชี้แจงกติกาและอธิบายวิธีการเล่นขั้นปรับเปลี่ยนแนว ความคิด ขั้นนำความคิดไปใช้ในการเล่นเกม ขั้นอภิปรายหลังการทำกิจกรรมและสรุปผล และการวัดและการประเมินผลการเรียนการสอน 2. รายละเอียดของขั้นต่างๆ มีดังนี้ ขั้นเตรียมกิจกรรมการเรียนการสอนประกอบด้วยการเลือกเกม บทบาทผู้เรียน การแบ่งกลุ่มผู้เรียน บทบาทครู บรรยากาศในชั้นเรียน อุปกรณ์ กติกา กฎ ระเบียบการทำกิจกรรม ขั้นทำกิจกรรมดึงความคิดประกอบด้วย ครูเสนอปัญหาให้ผู้เรียนโดยใช้คำถามปลายเปิด ครูติดตามสังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ขั้นชี้แจงกติกาประกอบด้วย การกำหนดกติกา การสาธิตและการฝึกซ้อม ขั้นปรับเปลี่ยนแนวความคิดประกอบด้วย การแบ่งกลุ่มผู้เรียน ผู้เรียนแสดงวิธีการทำงานของแต่ละคน และสรุปเพื่อนำไปใช้ในขั้นต่อไป อภิปรายหลังการทำกิจกรรมและสรุปผล ประกอบด้วย ตั้งประเด็นคำถามสู่การอภิปรายเกี่ยวกับเทคนิค เนื้อหาสาระที่ผู้เรียนได้รับ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research was to develop and present of computer instructional model based on constructivist approach using game teaching learning management for the second key stage students according to the basic education curriculum B.E. 2544. The opinions presented in this research were gathered from 20 instructional designer experts, constructivist experts, computer experts and game teaching experts. The instruments used to collect data were evaluate questionnaires and lesson evaluation forms. The data were analyzed for the average value and standard deviation. The research study reveled the following : 1. Instructional model consisted of 6 elements: activities phases, elicitation, rules of playing, turning and restructuring of ideas, application of ideas for playing, re/iew and evaluation after activities and evaluation and measurement 2. Activities phases consisted of game building, student roles, student grouping, teacher roles, classroom condition, equipment and rules. Elicitation phases consisted of teacher present problems by asking open-end questions and observing students behavior. Rule and playing phases consisted of explaining, rules and demonstration. Turning and restructuring of ideas phases consisted of student grouping, student strategy in doing task. Review and evaluation after activities phases consisted of pointing out questions for discussion.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ชอบทำดี, บริบูรณ์, "การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคอมพิวเตอร์ตามแนวคอนสตรัคติวิสต์ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบการสอนเกมสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544" (2004). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 33391.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/33391